bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดยึดกระดูกจากภายนอก

การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกที่หักอยู่กับที่ด้วยแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) (Fixation)
กระดูกมีความแข็งแกร่ง งอได้หากมีแรงกดจากภายนอกในระดับหนึ่ง แต่หากแรงดังกล่าวมีมากเกินไป กระดูกจะหักได้ ซึ่งการหักของกระดูกมีหลายชนิด เช่น แบบที่ไม่ทิ่มออกมานอกผิวหนัง และแบบที่ทิ่มออกมานอกผิวหนัง หรือเรียกว่าเป็นการหักแบบเปิด การหักลักษณะนี้นับว่ารุนแรงพอสมควรเพราะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแผลที่ผิวหนังและที่กระดูก จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะที่เรียกว่า Fixation ที่ต้องมีอุปกรณ์เป็นการยึดตรึงกระดูกที่หักอยู่กับที่ด้วยแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) อย่างน้อย 2 อัน ซึ่งแบ่งออกเป็น

แบ่งออกเป็น
  1. External Fixation คือ การยึดกระดูกจากภายนอกโดยแทง pin และ wire ทะลุผ่านกระดูกในแนวตั้งฉาก แล้วยึดปลายของแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) ที่โผล่ออกมาภายนอกด้วยโครงเหล็ก (frame) ใช้ในกรณีที่กระดูกหักรุนแรงร่วมกับการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น กระดูกหักแบบเปิด (open fracture) ชนิดที่รุนแรง และสามารถใช้ได้เป็นทั้งการรักษาแบบชั่วคราว (temporary treatment) หรือแบบถาวร (definite treatment)
จุดประสงค์ของการทำหัตถการ External fixation
  • ช่วยยึดตรึงกระดูกที่หักให้อยู่นิ่งกับที่
  • ช่วยส่งเสริมให้กระดูกติดและกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดมีการซ่อมแซม
  • การใส่ external fixation เพื่อให้ง่ายแก่การทำแผลชนิดเปิด
  • External fixation ช่วยแก้ไขความผิดปกติจากการบาดเจ็บของแขน ขา และสะโพก
  • ช่วยลดความพิการจากการบาดเจ็บและจากเนื้องอก
  1. Internal Fixation คือ การยึดกระดูกโดยการผ่าตัดใส่เครื่องยึดที่เป็นโลหะภายหลังการจัดกระดูกเข้าที่แล้วเรียกว่า ORIF หรือย่อมาจาก Open Reduction and Internal Fixation โดยการผ่าตัดเปิดเข้าไปจัดกระดูกเข้าที่แล้วจึงใส่แผ่นดามกระดูกและสกรู (plates and screws) หรือใส่เหล็กแกนดามกระดูก (intramedullary rod) หรือแกนดามกระดูก (nail) หรือแท่งโลหะ (pin) หรือลวด (wire) เพื่อยึดให้กระดูกอยู่กับที่
จุดประสงค์ของการทำ Internal fixation
  • การจัดกระดูกเข้าที่แบบปิดล้มเหลว
  • กระดูกหักชนิดที่มีการเคลื่อนของข้อ
  • กระดูกหักจากพยาธิสภาพ
  • กระดูกหักที่มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท
  • มีการบาดเจ็บหลายระบบและต้องการให้ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้เร็ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
  • ลดการสูญเสียโลหิตที่มาเลี้ยงกระดูก
  • ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อตรงบริเวณที่บาดเจ็บ
  • ช่วยทำให้เกิดการยึดตรึงได้ดี
  • ทำการปรับแต่งใหม่ได้โดยปราศจากการทำผ่าตัดใหม่
  • เป็นทางเลือกในรายที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
 
 
  • มองเห็นมีเหล็กทิ่มออกนอกเนื้อ
  • จำกัดการเคลื่อนไหวของข้อ
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนหากใส่ไว้นาน
  • อุปกรณ์หนักและผู้ป่วยจะมักไม่รู้สึกสบาย
  1. การสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น
  • การรับความรู้สึกลดลง
  • ปลายแขนขาเย็น
  • บวมมากขึ้น
  • มีไข้สูงเกิน 24 ชั่วโมง
  • มีอาการปวดมาก ได้รับยาแล้วไม่ดีขึ้น
  1. การออกกำลังกาย: ควรหมั่นออกกำลังกายตามที่แนะนำข้างต้นจะช่วยให้หายเร็วยิ่งขึ้นและสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ควรทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งถ้าทำแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมาก บวมมากขึ้น หรือแผลบวมแดงมากขึ้น แสดงว่าอาจมากเกินไปหรือทำไม่ถูกวิธี ต้องหยุดบริหารไว้ก่อน แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่านอีกครั้ง หลังจากที่กลับไปอยู่ที่บ้านควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
  2. การทำแผลและการดูแลแผลผ่าตัด: หลังการผ่าตัด เมื่อกลับไปบ้าน ควรไปทำแผลวันละครั้ง และควรสังเกตว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น บวม แดง มีหนอง เป็นต้น ควรดูแลแผลให้สะอาด อย่าให้แผลเปียกน้ำ เมื่อครบกำหนดการตัดไหมควรไปตัดไหม เพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจเกิดแผลติดเชื้อขึ้นได้ ส่วนระยะเวลาที่จะตัดไหมนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของแผล เช่น แผลที่แขนขาควรตัดไหมเมื่อครบ 10-14 วัน ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้ง
  3. มาตรวจตามแพทย์นัด: มาตรวจซ้ำเพื่อดูแผลและอาการต่างๆ รวมถึงแนะนำวิธีทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ วิธีการรักษาและการดูแลตนเอง รวมถึงการนัดครั้งต่อไป จนกระทั่งท่านได้รับการรักษาจนหายสนิท
  4. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร
  1. การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทและหลอดเลือดจากแท่งโลหะ (pin) ที่แทงผ่านไปเส้นเลือดได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  2. การติดเชื้อบริเวณที่แทงแท่งโลหะ (pin) พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดบริเวณนี้อย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นตื้นๆ เพียงทำความสะอาดและใส่ยาปฏิชีวนะก็สามารถควบคุมการติดเชื้อได้ แต่ถ้าเข้าไปถึงกระดูก (osteomylelitis) และมีการตายของกระดูกเรียก ring sequestrum อาจต้องทำการผ่าตัดเอากระดูกที่ตายออก (sequestrectomy) และต้องเอาแท่งโลหะ (pin) ออกและใส่แท่งโลหะ (pin) ตำแหน่งใหม่
  3. การบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเอ็นที่แท่งโลหะ (pin) ผ่านไป อาจทำให้เกิดเอ็นฉีกขาดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ และถ้าแทงแท่งโลหะ (pin) หลายตัวจะเกิดข้อติดแข็ง (ankle stiffness) พบบ่อยในกระดูกหน้าแข้ง (tibia) หัก
  4. กระดูกติดล่าช้า (delayed union) พบประมาณ 20-30% ทำให้ต้องใส่อุปกรณ์ตรึงนานขึ้น
  5. กลุ่มอาการช่องปิด (compartment syndrome) คือ ภาวะที่ความดันภายในช่องปิดเพิ่มสูงขึ้นมากจนกระทั่งรบกวนต่อระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องนั้นๆ โดยทั่วไปจะมีวินิจฉัยเมื่อมีความดันภายในช่องปิดมากกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท แต่เมื่อพบว่าความดันภายในช่องปิดนั้นมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอทให้เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย อาจพบบริเวณแขนขาที่ใส่ตัวตรึงด้านนอก (external fixator) ได้ ทั้งนี้เพราะมีแตกต่างจากการทำการผ่าตัดเปิด (open surgery) คือมองเห็นตำแหน่งชัดเจนแต่การใส่เครื่องมือยึดตรึง (external fixator) จะเป็นแบบปิด (closed method) ดังนั้นจึงทำให้มีโอกาสเกิด compartmental syndrome สูง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยถ้าไม่ระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบาดเจ็บที่รยางค์จะพบบ่อยที่บริเวณแขนและขา เชื่อว่าอัมพาตและการหดค้างของกล้ามเนื้อรยางค์เป็นผลมาจากภาวะกล้ามเนื้อขาดเลือดซึ่งเกิดจากความดันภายในช่องปิด (compartment pressure) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การไหลเวียนเลือดเปลี่ยนแปลงไป แนวทางแก้ไข คือการผ่าตัดลดความดัน (decompression) หรือการผ่าพังผืด (fasciotomy) โดยเร็ว
  6. เกิดการหักซ้ำ (refracture) มักเกิดขึ้นหลังจากเอาเครื่องมือยึดตรึง (fixator) ออกโดยไม่มีการป้องกันที่ดีพอด้วยการใช้ไม้ค้ำยัน (crutches) หรือใช้ supplemental casts หรืออุปกรณ์ช่วยอื่นๆ ร่วมกับมีการติดเชื้อที่แท่งโลหะ (pin) ถ้าใส่ตัวตรึงด้านนอก (external fixator) นานกว่า 1 สัปดาห์มีโอกาสเกิดการติดเชื้อสูงมากโดยเฉพาะในรายที่จะต้องทำการผ่าตัดชนิดเชื่อมกระดูกด้วยแผ่นโลหะและนอต (open reduction and internal fixation: ORIF)
  7. ความเสี่ยงของการมีเลือดจับตัวในเส้นเลือดขาซึ่งลิ่มเลือดนี้อาจแตกตัวและเคลื่อนที่ไปยังปอดได้ กรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา เนื่องจากเป็นอันตรายถึงชีวิต
  8. เส้นประสาทและ/หรือเส้นเลือดได้รับความเสียหาย ซึ่งต้องรับการผ่าตัดต่อไป
  9. อาการเจ็บปวดที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการผ่าตัด ซึ่งความเจ็บปวดนี้จะมีเพิ่มมากขึ้นและทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้
  10. การผ่าตัดอาจทำให้มีผลต่อการรับความรู้สึกและสีผิวที่บริเวณผ่าตัด ในบางกรณีแผลอาจมีลักษณะผิดปกติไปจากรายอื่นๆ โดยอาจมีลักษณะหนาและแข็ง มีสีแดง และเจ็บที่แผลเป็น
ทั้งนี้ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในกรณีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนหรือสูบบุหรี่ โดยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผล ติดเชื้อบริเวณทรวงอก หัวใจ และปอด รวมทั้งเรื่องลิ่มเลือด
 
กระดูกติดล่าช้า (delayed union) พบประมาณ 20-30% ทำให้ต้องใส่อุปกรณ์ตรึงนานขึ้น
 
กรณีไม่รับการรักษาด้วยหัตถการนี้
การแตกหักของกระดูกบางชนิดนั้นร่างกายจะรักษาตัวเองได้ แต่การรักษาตัวเองอาจเป็นไปแบบไม่เหมาะสม ผู้ป่วยจึงควรรับการรักษาเพื่อให้กระดูกกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แพทย์จะทำ open reduction and internal fixation (ORIF) เพื่อรักษาการแตกหักของกระดูกบางชนิด เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของ
  1. การสมานตัวช้า (หมายถึง กระดูกไม่เกิดการสมานตัวกันเลยแม้เวลาจะผ่านไปนานแล้วหลังจากได้รับบาดเจ็บ)
  2. กระดูกที่แตกร้าวไม่สมานตัวเองอย่างเหมาะสม
  3. กระดูกที่แตกร้าวสมานตัวเองแบบผิดรูป
  4. เศษของกระดูกที่แตกร้าวหลุดไปบริเวณอื่น
  5. กระดูกที่แตกร้าวและไม่ได้รับการยึดให้อยู่กับที่อาจทำให้แทงทะลุผิวหนังได้
  6. ท่าเดินผิดปกติ
  7. ข้อเสื่อมหลังอาการบาดเจ็บ (post traumatic osteoarthritis)
ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่ต้องการเข้ารับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกอื่นและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
การรักษาที่กล่าวทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การรักษากระดูกที่แตกหักทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของกระดูกที่หัก ความรุนแรงของการบาดเจ็บ สภาพและความต้องการของผู้ป่วย รวมทั้งการตัดสินใจของแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน
  1. การใส่เฝือก – เป็นเฝือกพลาสติกหรือใยแก้ว เป็นวิธีการรักษาที่ใช้บ่อยที่สุด เนื่องจากกระดูกจะสมานตัวเองสำเร็จได้เมื่อมีการจัดตำแหน่งให้ถูกต้องและใช้เฝือกในการดามไม่ให้กระดูกเคลื่อนที่ในระหว่างการรักษา
  2. Functional cast หรือ brace – เป็นเฝือกที่ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้แบบจำกัด และเป็นวิธีที่ใช้ได้กับการหักของกระดูกในบางรูปแบบเท่านั้น
  3. Traction – เป็นการจัดกระดูกด้วยวิธีการดึงเบาๆ แต่ต่อเนื่อง แรงดึงจะถูกส่งไปยังกระดูกผ่านเทปบนผิวหนัง หรือเข็มโลหะที่สอดผ่านกระดูก โดยมากแพทย์จะใช้วิธีนี้ในเบื้องต้นก่อนทำการรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป
  4. Internal fixation – Open Reduction and Internal Fixation (ORIF) การผ่าตัดเปิดเพื่อยึดตรึงกระดูกให้เข้าที่ด้วยแผ่นเหล็กและนอต

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ออร์โธปิดิกส์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs