bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดชนิดเชื่อมกระดูกด้วยแผ่นโลหะและนอต

การผ่าตัดชนิดเชื่อมกระดูกด้วยแผ่นโลหะและนอตภายหลังการจัดกระดูกเข้าที่แล้วจะเรียก ORIF ซึ่งย่อมาจาก Open Reduction and Internal Fixation โดยการผ่าตัดเปิดเข้าไปจัดกระดูกเข้าที่แล้วจึงใส่แผ่นดามกระดูก (plates) และสกรู (screws) หรือใส่เหล็กแกนดามกระดูก (intramedullary rod) หรือแกนดามกระดูก (nail) หรือแท่งโลหะ (pin) หรือลวด (wire) เพื่อยึดให้กระดูกอยู่กับที่

การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกที่หักอยู่กับที่ด้วยแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) (Fixation)
  1. กระดูกมีความแข็งแกร่ง งอได้หากมีแรงกดจากภายนอกในระดับหนึ่ง แต่หากแรงดังกล่าวมีมากเกินไป กระดูกจะหักได้ ซึ่งการหักของกระดูกมีหลายชนิด เช่น แบบที่ไม่ทิ่มออกมานอกผิวหนัง และแบบที่ทิ่มออกมานอกผิวหนัง หรือเรียกว่าเป็นการหักแบบเปิด การหักลักษณะนี้นับว่ารุนแรงพอสมควรเพราะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแผลที่ผิวหนังและที่กระดูก จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะที่เรียกว่า fixation ที่ต้องมีอุปกรณ์เป็นการยึดตรึงกระดูกที่หักอยู่กับที่ด้วยแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) อย่างน้อย 2 อัน ซึ่งแบ่งออกเป็น
  2. External Fixation คือ การยึดกระดูกจากภายนอกโดยแทง pin และ wire ทะลุผ่านกระดูกในแนวตั้งฉาก แล้วยึดปลายของแท่งโลหะ (pin) และลวด (wire) ที่โผล่ออกมาภายนอกด้วยโครงเหล็ก (frame) ใช้ในกรณีที่กระดูกหักรุนแรงร่วมกับการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น กระดูกหักแบบเปิด (open fracture) ชนิดที่รุนแรง และสามารถใช้ได้เป็นทั้งการรักษาแบบชั่วคราว (temporary treatment) หรือแบบถาวร (definite treatment)
จุดประสงค์ของการทำ Internal fixation
  • การจัดกระดูกเข้าที่แบบปิดล้มเหลว
  • กระดูกหักชนิดที่มีการเคลื่อนของข้อ
  • กระดูกหักจากพยาธิสภาพ
  • กระดูกหักที่มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท
  • มีการบาดเจ็บหลายระบบและต้องการให้ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้เร็ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
  • Internal Fixation คือ การยึดกระดูกโดยการผ่าตัดใส่เครื่องยึดที่เป็นโลหะภายหลังการจัดกระดูกเข้าที่แล้วเรียกว่า ORIF หรือย่อมาจาก Open Reduction and Internal Fixation โดยการผ่าตัดเปิดเข้าไปจัดกระดูกเข้าที่แล้วจึงใส่แผ่นดามกระดูกและสกรู (plates and screws) หรือใส่เหล็กแกนดามกระดูก (intramedullary rod) หรือแกนดามกระดูก (nail) หรือแท่งโลหะ (pin) หรือลวด (wire) เพื่อยึดให้กระดูกอยู่กับที่
จุดประสงค์ของการทำหัตถการ external fixation
  • ช่วยยึดตรึงกระดูกที่หักให้อยู่นิ่งกับที่
  • ช่วยส่งเสริมให้กระดูกติดและกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดมีการซ่อมแซม
  • การใส่ external fixation เพื่อให้ง่ายแก่การทำแผลชนิดเปิด
  • External fixation ช่วยแก้ไขความผิดปกติจากการบาดเจ็บของแขน ขา และสะโพก
  • ช่วยลดความพิการจากการบาดเจ็บและจากเนื้องอก
  1. การสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น
  2. การรับความรู้สึกลดลง
  3. ปลายแขนขาเย็น
  4. บวมมากขึ้น
  5. มีไข้สูงเกิน 24 ชั่วโมง
  6. มีอาการปวดมาก ได้รับยาแล้วไม่ดีขึ้น
  7. การออกกำลังกาย: ควรหมั่นออกกำลังกายตามที่แนะนำข้างต้นจะช่วยให้หายเร็วยิ่งขึ้นและสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ควรทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าทำแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมาก บวมมากขึ้น หรือแผลบวมแดงมากขึ้น แสดงว่าอาจมากเกินไปหรือทำไม่ถูกวิธี ต้องหยุดบริหารไว้ก่อน แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่านอีกครั้ง หลังจากที่กลับไปอยู่ที่บ้านควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
  8. การทำแผลและการดูแลแผลผ่าตัด: หลังการผ่าตัด เมื่อกลับไปบ้าน ควรไปทำแผลวันละครั้ง และควรสังเกตว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น บวม แดง มีหนอง เป็นต้น ควรดูแลแผลให้สะอาด อย่าให้แผลเปียกน้ำ เมื่อครบกำหนดการตัดไหมควรไปตัดไหม เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเกิดแผลติดเชื้อขึ้นได้ ส่วนระยะเวลาที่จะตัดไหมนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของแผล เช่น แผลที่แขนขาควรตัดไหมเมื่อครบ 10-14 วัน ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้ง
  9. มาตรวจตามแพทย์นัด: มาตรวจซ้ำเพื่อดูแผลและอาการต่างๆ รวมถึงแนะนำวิธีทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ วิธีการรักษาและการดูแลตนเอง รวมถึงการนัดครั้งต่อไป จนกระทั่งท่านได้รับการรักษาจนหายสนิท
  10. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร
  1. จุดที่แตกไม่สมานตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดอีกครั้ง และ/หรือปลูกถ่ายกระดูก
  2. แผ่นโลหะ/สกรู/ลวดต่างๆ หักหรือหลวม ซึ่งต้องนำออกและใส่กลับเข้าไปใหม่
  3. การนำแผ่นโลหะหรือนอตออกในบางช่วงของการรักษา
  4. การที่กระดูกเสียรูปอันเกิดมาจากการเคลื่อนที่และ/หรือการหักนั้นทำให้อวัยวะใช้การไม่ได้ ซึ่งต้องรักษาต่อไป
  5. เส้นเลือดได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  6. ติดเชื้อที่กระดูกและ/หรือแผล ซึ่งต้องทำการผ่าตัดและ/หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  7. ความเสี่ยงของการมีเลือดจับตัวในเส้นเลือดขาซึ่งลิ่มเลือดนี้อาจแตกตัวและเคลื่อนที่ไปยังปอดได้ กรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา เนื่องจากเป็นอันตรายถึงชีวิต
  8. เส้นประสาทและ/หรือเส้นเลือดได้รับความเสียหาย ซึ่งต้องรับการผ่าตัดต่อไป
  9. อาการเจ็บปวดที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการผ่าตัด ซึ่งความเจ็บปวดนี้จะมีเพิ่มมากขึ้นและทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้
  10. การผ่าตัดอาจทำให้มีผลต่อการรับความรู้สึกและสีผิวที่บริเวณผ่าตัด ในบางกรณีแผลอาจมีลักษณะผิดปกติไปจากรายอื่นๆ โดยอาจมีลักษณะหนาและแข็ง มีสีแดง และเจ็บที่แผลเป็น
  11. ทั้งนี้ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในกรณีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนหรือสูบบุหรี่ โดยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผล ติดเชื้อบริเวณทรวงอก หัวใจ และปอด รวมทั้งเรื่องลิ่มเลือด
ความสำเร็จจากการทำหัตถการขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ เป็นต้น การที่กระดูกเสียรูปอันเกิดมาจากการเคลื่อนที่และ/หรือการหักนั้นจะทำให้อวัยวะใช้การไม่ได้ ซึ่งต้องรักษาต่อไป เป็นต้น
 
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการนี้
การแตกหักของกระดูกบางชนิดนั้นร่างกายจะรักษาตัวเองได้ แต่การรักษาตัวเองอาจเป็นไปแบบไม่เหมาะสม ผู้ป่วยจึงควรรับการรักษาเพื่อให้กระดูกกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แพทย์จะทำ open reduction and internal fixation (ORIF) เพื่อรักษาการแตกหักของกระดูกบางชนิด เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของ
  1. การสมานตัวช้า (หมายถึง กระดูกไม่เกิดการสมานตัวกันเลยแม้เวลาจะผ่านไปนานแล้วหลังจากได้รับบาดเจ็บ)
  2. กระดูกที่แตกร้าวไม่สมานตัวเองอย่างเหมาะสม
  3. กระดูกที่แตกร้าวสมานตัวเองแบบผิดรูป
  4. เศษของกระดูกที่แตกร้าวหลุดไปบริเวณอื่น
  5. กระดูกที่แตกร้าวและไม่ได้รับการยึดให้อยู่กับที่อาจทำให้แทงทะลุผิวหนังได้
  6. ท่าเดินผิดปกติ
  7. ข้อเสื่อมหลังอาการบาดเจ็บ (post traumatic osteoarthritis)
ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่ต้องการเข้ารับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกอื่นและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
 
การรักษาที่กล่าวทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การรักษากระดูกที่แตกหักทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของกระดูกที่หัก ความรุนแรงของการบาดเจ็บ สภาพและความต้องการของผู้ป่วย รวมทั้งการตัดสินใจของแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน
  1. การใส่เฝือก – เป็นเฝือกพลาสติกหรือใยแก้ว เป็นวิธีการรักษาที่ใช้บ่อยที่สุด เนื่องจากกระดูกจะสมานตัวเองสำเร็จได้เมื่อมีการจัดตำแหน่งให้ถูกต้อง และใช้เฝือกในการดามไม่ให้กระดูกเคลื่อนที่ในระหว่างการรักษา
  2. Functional cast หรือ brace – เป็นเฝือกที่ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้แบบจำกัด และเป็นวิธีที่ใช้ได้กับการหักของกระดูกในบางรูปแบบเท่านั้น
  3. Traction – เป็นการจัดกระดูกด้วยวิธีการดึงเบาๆ แต่ต่อเนื่อง แรงดึงจะถูกส่งไปยังกระดูกผ่านเทปบนผิวหนังหรือเข็มโลหะที่สอดผ่านกระดูก โดยมากแพทย์จะใช้วิธีนี้ในเบื้องต้นก่อนทำการรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป
  4. External fixation – สำหรับวิธีนี้แพทย์จะใส่สกรูเข้าไปในกระดูกที่หัก ในตำแหน่งที่เหนือหรือใต้จุดที่หักของกระดูก จากนั้นแพทย์จะจัดวางกระดูกในสภาพเดิม ตัวสกรูจะเชื่อมต่อกับแท่งโลหะที่อยู่นอกกระดูก อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ยึดกระดูกเข้าด้วยกันในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อให้กระดูกสมานตัวเอง หลังจากระยะเวลาหนึ่งผ่านไป แพทย์จะถอดอุปกรณ์ออก

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ออร์โธปิดิกส์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs