bih.button.backtotop.text

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก (Femoral Neck Fracture)

เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุนอยู่เดิม โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักจะเกิดตามหลังอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น การลื่นล้ม สะโพกข้างที่บาดเจ็บกระแทกพื้น ในผู้ป่วยอายุน้อยมักเกิดจากอุบัติเหตุชนิดรุนแรง เช่นอุบัติเหตุจราจรหรือการตกจากที่สูง ความสำคัญของการบาดเจ็บชนิดนี้คือ ตำแหน่งที่หักส่วนใหญ่มักเกิดภายในเยื่อหุ้มข้อ (Intracapsular fracture) กระดูกที่หักและเคลื่อนที่ จะไปรบกวนเส้นเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหัวกระดูกต้นขา ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวกระดูกตายจากการขาดเลือดในภายหลัง

สาเหตุของภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก
  • ส่วนใหญ่เกิดจากการล้มสะโพกกระแทกพื้นในผู้ป่วยสูงอายุ สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุน
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก จะมาด้วยอาการปวดสะโพกบริเวณขาหนีบ ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักข้างที่หักได้
  • ตรวจร่างกายมักพบ ขาสั้นลงกว่าข้างปกติ และอยู่ในท่าหมุนออกด้านนอก มีจุดกดเจ็บบริเวณขาหนีบ ไม่สามารถหมุนหรือขยับสะโพกข้างที่บาดเจ็บได้
  • การซักประวัติอาการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย โดยซักประวัติถึงสาเหตุของการล้ม ประวัติเกี่ยวกับการปวดข้อสะโพก ภาวะโรคประจำตัว และระดับความสามารถในการเดินและใช้ชีวิตประจำวันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  • การเอกซเรย์ รวมถึงการสืบค้นทางภาพถ่ายเอกซเรย์ โดยเอกซเรย์สะโพกแบบมาตรฐานมักสามารถให้การวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักได้ดี
  • การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กแรงสูง (MRI) ในกรณีที่เอกซเรย์แล้วหากไม่พบกระดูกหักชัดเจน แต่ยังสงสัยภาวะกระดูกหัก เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

เป้าหมายในการรักษา คือ ลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย เกิดความมั่นคงของข้อสะโพก ทำให้เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ติดเชื้อที่ปอดและทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิตให้แก่ผู้ป่วย

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณา วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.29 of 10, จากจำนวนคนโหวต 14 คน

Related Health Blogs