bih.button.backtotop.text

ศัลยกรรมตรึงอัณฑะ

ศัลยกรรมตรึงอัณฑะ (orchiopexy, orchidopexy or orchidorraphy) คือ การผ่าตัดที่นำเอาลูกอัณฑะที่อยู่นอกถุงอัณฑะให้เคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ ปกติจะทำการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะเด็กและการแก้ไขจะทำในช่วงอายุทารกประมาณ 12 เดือน ในบางรายอาจทำการผ่าตัดในช่วงอายุที่มากกว่านี้หรือในผู้ใหญ่ แต่มักพบได้น้อยเนื่องจากภาวะนี้มักพบและประเมินได้ในช่วงแรกไม่กี่เดือนหลังคลอด

การไม่มีลูกอัณฑะในถุงอัณฑะ
เกิดจากการเคลื่อนตัวของอัณฑะจากในช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะไม่สมบูรณ์ (ในตัวอ่อนที่ยังเจริญไม่สมบูรณ์ ลูกอัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง) อาจอยู่ในช่องท้อง ขาหนีบ หรือแถวๆ หัวหน่าวก็ได้ พบเป็นข้างขวามากกว่าข้างซ้าย พบเป็นสองข้างประมาณร้อยละ 15 ส่วนใหญ่อาจตรวจคลำพบว่าอยู่ในช่องขาหนีบหรือส่วนบนถุงอัณฑะ ถ้าอยู่บริเวณด้านหลังช่องท้องจะคลำไม่พบต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (magnetic resonance imaging: MRI) และการทำผ่าตัดส่องกล้อง (laparoscopy)
 
ประเภทของการไม่พบอัณฑะในถุง ได้แก่
  1. Retractile testes คือ อัณฑะซึ่งเดิมอยู่ในตำแหน่งปกติในถุงอัณฑะ แล้วมีการหดขึ้นไปข้างบน ซึ่งจะเริ่มมีในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ประกอบกับขนาดของลูกอัณฑะยังเล็ก อัณฑะจึงเข้าไปหลบอยู่ในช่องขาหนีบ (inguinal canal) ได้ง่าย พบมากที่สุดในอายุ 6-7 ปี และไม่พบในเด็กอายุมากกว่า 13 ปี มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้าง การซักประวัติย้อนกลับไปเมื่อตอนเด็กเล็กหรือแรกคลอด ลูกอัณฑะจะอยู่ในถุงอัณฑะ และมักได้ประวัติว่าเวลาเด็กหลับอัณฑะจะลงมาในถุงได้เอง ตรวจร่างกายพบขนาดของอัณฑะปกติและสามารถดึงลูกอัณฑะลงมาในถุงอัณฑะได้ปกติ ดังนั้น rectractile testes จึงเป็นปรากฏการณ์ปกติที่พบในช่วงอายุหนึ่ง ไม่ต้องการการรักษา
  2. Ectopic testes คือ อัณฑะที่เคลื่อนลงมาจาก retroperitoneum ผ่าน external ring ไปยังที่อื่นซึ่งไม่ใช่แนวที่ไปยังถุงอัณฑะ ร้อยละ 80 ของ ectopic testes เป็นข้างเดียว และร้อยละ 75 พบที่ผิวบริเวณขาหนีบ (superficial inguinal pouch) ขนาดของอัณฑะจะปกติ เชื้ออสุจิและฮอร์โมนแอนโดรเจนปกติ (spermatogenesis และ androgen function) การรักษาคือการผ่าตัดนำอัณฑะนั้นมาในถุงอัณฑะ (orchiopexy) การรักษาโดยให้ฮอร์โมนไม่ได้ประโยชน์
  3. Monorchia หรือ anorchia (absence of testes) คือ ไม่พบอัณฑะเลย พบได้ร้อยละ 3.3-5.2 ของภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (undescended testis) ร้อยละ 80 เป็นข้างใดข้างหนึ่ง (เรียกว่า monorchia) การไม่มีอัณฑะเลยในข้างหนึ่งข้างใดอาจเกิดจากอัณฑะนั้นไม่พัฒนา ซึ่งหลอดอสุจิ (vas deferens) จะเจริญไม่สมบูรณ์ และบางครั้งมีการหายไปของไตและท่อไตร่วมด้วย หรืออาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการบิด (testicular torsion) ทำให้อัณฑะนั้นขาดเลือด และฝ่อ (atrophy) ไปในที่สุด ซึ่งจะเรียกว่า "vanishing testis”
  1. ช่วยรักษาการทำงานของอัณฑะในการผลิตอสุจิและฮอร์โมน อุณหภูมิในถุงอัณฑะจะต่ำกว่าอุณหภูมิในช่องท้อง 1.5-2.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงกว่าทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ การผลิตอสุจิลดลง พบว่าในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (undescended testis) ข้างเดียวและไม่ได้รับการรักษาจะมีบุตรได้เพียงร้อยละ 30 ซึ่งถ้าเป็นภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (undescended testis) ทั้งสองข้างไม่มีโอกาสมีบุตรได้เลย
  2. ลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหามะเร็งของลูกอัณฑะ 40-50 เท่า เนื่องจากอุณหภูมิที่ไม่เหมาะกับลูกอัณฑะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นเนื้อร้าย
  3. ช่วยให้ค้นหามะเร็งของลูกอัณฑะได้ง่ายขึ้น
  4. ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในความเป็นชายมากขึ้น
  5. ลดอันตรายและความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ การเล่นกีฬา หรือการรัดของเข็มขัด
  6. รักษาการเกิดไส้เลื่อน (inguinal hernia) การบิดขั้วของลูกอัณฑะ (torsion of the undescended testis) ซึ่งจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก
  • เลือดออก เกิดก้อนเลือดในถุงอัณฑะ
  • เกิดการเสียหายของหลอดเลือดและท่อที่ไปเลี้ยงลูกอัณฑะ จนเป็นเหตุให้เกิดอัณฑะฝ่อ
  • ลูกอัณฑะออกมาจากถุงใหม่หลังผ่าตัดไปแล้ว ทำให้ต้องกลับมาผ่าตัดใหม่แต่พบได้น้อยมาก
หัตถการนี้เป็นหัตถการที่ไม่ยุ่งยากหรือเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน ผลการผ่าตัดจะดีและลูกอัณฑะเคลื่อนลงมาอยู่ในตำแหน่งของถุง แต่อัตราของความสำเร็จนั้นแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งของอัณฑะที่ไม่ลงมา
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นมะเร็งและเป็นหมันได้สูง
 
  • กรณีเด็กแรกเกิดคลำลูกอัณฑะไม่เจอข้างเดียวหรือสองข้าง ให้ตรวจติดตามโดยกุมารแพทย์ ประมาณ 2 ใน 3 อัณฑะจะลงถุงได้เอง ถ้าเกิน 1 ปีอัณฑะมักจะไม่ลงถุงเอง ควรผ่าตัดเพื่อดึงลูกอัณฑะมาอยู่ในถุง
  • การใช้ฮอร์โมน เนื่องจาก hypothamus-pituitary testicular axis เป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเคลื่อนของอัณฑะ ดังนั้นการให้ฮอร์โมนรักษาช่วยให้สามารถเคลื่อนลงมาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ฮอร์โมนที่ให้มี 2 ชนิด ได้แก่ human chorionic gonadotropin (hCG) และ gonadotropin-releasing hormone (Gn-RH) (LHRH: lutinizing hormone-releasing hormone) สำหรับวัยรุ่นที่พบอัณฑะไม่ลงมาในถุงอัณฑะข้างเดียว แนะนำให้ทำการตัดลูกอัณฑะทุกรายเพื่อป้องกันการเป็นเนื้อร้าย แนะนำตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป
  • Testicular transfer หลักการคือการทำ autotransplantation ของอัณฑะ ซึ่งเดิมอยู่ในช่องท้องลงมาไว้ในถุงอัณฑะโดยต่อหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงโดยใช้เทคนิคทางจุลศัลยกรรม

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs