bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะด้านใน ชนิด OXFORD

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมเฉพาะด้านใน ชนิด OXFORD ทำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรงชนิดด้านในเพียงด้านเดียว สามารถอนุรักษ์ผิวข้อด้านที่ดีไว้ได้ เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ลดการเสียเลือด สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว

ภาพรวม
ปัจจุบัน การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมเฉพาะด้านใน ชนิด OXFORD เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรงชนิดด้านในเพียงด้านเดียว สามารถอนุรักษ์ผิวข้อด้านที่ดีไว้ได้ เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ลดการเสียเลือด สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยอายุการใช้งานไม่แตกต่างจากข้อเข่าเทียมทั่วไป
 
  • ผู้ป่วยข้อเข่าด้านในเสื่อมด้านเดียว อย่างรุนแรง โดยมีการชิดกันของกระดูกหัวเข่าด้านในจากฟิล์มเอกเรย์ในท่ายืน
  • มีการทำงานของเอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลังปกติ
  • ไม่พบการสึกของข้อเข่าด้านนอก
  • มีการผิดรูปของหัวเข่าน้อย ทั้งในแนวงอ-เหยียด และแนวข้าง
แม้ว่าการผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดชนิดแผลเล็ก เจ็บปวดน้อย แต่ทีมแพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาปวดก่อนและหลังการผ่าตัด ร่วมกับการทำ Nerve block เพื่อให้การผ่าตัดครั้งนี้ ใกล้เคียงกับ Painless Surgery ให้มากที่สุด

แพทย์จะตรวจพิสัยการงอเหยียดของข้อโดยละเอียดและส่งภาพถ่ายรังสีเพื่อวางแผนการผ่าตัด แผลผ่าตัดมักมีขนาดเล็กที่ 5 - 8 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบมาโดยเฉพาะช่วย หลังจากเลือกขนาดของข้อเข่าเทียมได้เหมาะกับผู้ป่วยแล้ว จึงนำผิวข้อบริเวณที่เสื่อมออก

ข้อเข่าเทียมเฉพาะด้านในจะถูกวางลงแทนที่ แล้วใช้ซีเมนต์ยึดติดกับกระดูก หรืออาจใช้ข้อเข่าเทียมชนิดไม่ใช้ซีเมนต์ยึดได้ในผู้ป่วยบางราย ส่วนผิวข้อนั้นจะถูกแทนด้วย ผิวข้อเทียมที่ทำจาก Polyethylene ซึ่งสามารถเคลื่อนได้ตามการงอเข่าของผู้ป่วย
 
ก่อนการผ่าตัดท่านจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด รวมถึงการฝึกเดินด้วยไม้ค้ำยัน จากศูนย์เปลี่ยนข้อเทียม หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนมากสามารถลุกยืนและฝึกเดินได้ภายในวันแรก และสามารถกลับไปพักรักษาตัวและทำกายภาพต่อที่บ้านได้ภายใน 3 วัน

การเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมเฉพาะด้านใน ชนิด OXFORD มากกว่า 8,000 ราย พบว่าให้ผลการรักษาระดับดีเยี่ยม* ที่ระยะเวลา 10 ปี โดยมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมากที่ 0.83%

(*โดยใช้ Oxford Knee Score)
 
ภาวะข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด เป็นภาวะที่รุนแรงสำหรับการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยอย่างสูง เนื่องจากพบว่า ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก่อนเข้ามาปรึกษาแพทย์ เคยข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุดหลายครั้ง และไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าเกิดจากอะไร

พบว่ามากกว่า 50% ของการหลุดมักเกิดขึ้นในช่วงสามเดือนแรกหลังการผ่าตัด โดยเกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ
 
  1. ข้อสะโพกเทียมวางผิดตำแหน่งหรือข้อสะโพกเทียมหลวม (Malposition or Loosening)
  2. ข้อสะโพกเทียมขัดกัน (Impingement)
  3. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก (Muscle laxity or spasm)

จะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะข้อสะโพกเทียมหลุดนั้น เกิดขึ้นได้จากทั้งจากตัวผู้ป่วย เช่น กล้ามเนื้อที่หย่อนหรือตึงผิดปกติ ระดับความรุนโรคข้อสะโพก หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด, จากการผ่าตัด เช่นการวางตำแหน่งของข้อสะโพกเทียมผิดตำแหน่ง การแก้ไขความตึงของกล้ามเนื้อ ประสบการณ์ของแพทย์ที่ทำการผ่าตัด และความเสี่ยงที่เกิดจากการเลือกใช้ชนิดของข้อสะโพกที่ไม่เหมาะสม ทำให้ต้องใช้ทั้งประสบการณ์และความรู้อย่างมากในการรักษา

การวินิจฉัยโรคทำได้ง่ายจากการตรวจร่างกายและการฉายภาพรังสี จะพบว่าข้อสะโพกเทียมเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม

ทีมแพทย์จะวางแผนการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้ข้อสะโพกที่มั่นคงและกลับไปใช้งานได้ตามปกติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและมาตรฐานการรักษาที่ดีที่สุด โดยจะเจาะเลือดเพื่อช่วยค้นหาภาวะติดเชื้อ หรือส่งเอกเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของข้อเทียมและกระดูกสะโพก โดยแบ่งการรักษาได้เป็น 3 กลุ่มคือ
 
  1. ผู้ป่วยที่สะโพกหลุดครั้งแรก ไม่พบหรือพบความผิดปกติของข้อสะโพกเล็กน้อย อาจมาด้วยอุบัติเหตุ หรือล้มผิดจังหวะ สามารถรักษาด้วยการดึงข้อสะโพกเทียมให้เข้าที่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
  2. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตำแหน่งข้อสะโพกเทียม แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการดึงสะโพกเทียมให้เข้าที่ร่วมกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในคราวเดียวกัน
  3. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อสะโพกเทียมมาก มีภาวะอื่นร่วมด้วยเช่นการติดเชื้อ การหลวมของข้อสะโพกเทียมที่ต้องใช้ข้อสะโพกเทียมชนิดพิเศษ หรือผู้ป่วยที่มีเนื้อกระดูกหายไปมาก แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการดึงข้อสะโพกเทียมให้เข้าที่หรืออยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดก่อน แล้วผ่าตัดเพื่อแก้ไขข้อสะโพกเทียมในภายหลัง โดยระยะเวลาของการรักษาในแต่ละบุคคลนั้น แตกต่างกันตามสาเหตุที่ทำให้ข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด ดังกล่าว
 
แม้ว่าการรักษาจะมีหลายแนวทางและใช้ทีมแพทย์ผู้ชำนาญหลายด้าน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวคือทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปเดินได้อย่างปกติ
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs