bih.button.backtotop.text

โรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมมักเกิดมาจากการใช้งานของข้อเข่ามาเป็นเวลานาน (Primary OA knee) ส่วนใหญ่จึงพบในผู้สูงอายุ การใช้งานมานานทำให้กระดูกผิวข้อ (cartilage) ของข้อเข่าสึกหรอไปเรื่อยๆ เมื่อกระดูกผิวข้อสึกหรอไปจนหมดแล้ว กระดูกข้อเข่าจะมาชนกัน ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีภาวะอื่นๆที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย เช่น 
• การมีกระดูกรอบๆ หัวเข่าแตกหัก (Fracture around the knee, Post-traumatic arthritis)
• การติดเชื้อภายในข้อเข่า (Septic arthritis of knee joint)
• โรคข้ออักเสบต่างๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

อาการของข้อเข่าเสื่อม
อาการของข้อเข่าเสื่อมคือ อาการปวดขัดที่ข้อเข่า ในช่วงแรกๆ มักปวดบริเวณหลังหัวเข่าและด้านในของเข่า

อาการปวดจะสัมพันธ์กับการใช้งานข้อเข่า เช่น เวลาเดิน หรือออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของข้อเข่าเสื่อมจะลดลง หรือมีการติดขัดของข้อเข่า มุมของกระดูกหัวเข่ามักจะเอียง ทำให้เข่าโก่งทั้งออกไปด้านนอกและเข้ามาทางด้านใน แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่มุมของเข่าเป็นปกติ นอกจากนี้การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินขึ้นลงบันได หรือการลุกขึ้นจากการนั่งมักทำได้ยากลำบากกว่าปกติ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีการอักเสบของข้อเข่า จะมีอาการบวมร้อนที่บริเวณเข่า และในรายที่มีการอักเสบมากๆ หรือมีอาการรุนแรงจะมีข้อเข่าบวมและมีน้ำในข้อเข่า
แพทย์จะประเมินประเมินความรุนแรงของความเสื่อมของเข่าโดย ใช้ภาพถ่ายทางรังสี หรือ MRI เพื่อประเมินกระดูกผิวข้อที่สึกหรอไป
การรักษาข้อเข่าเสื่อมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความเสื่อม ในรายที่มีการเสื่อมไม่รุนแรงมากหรืออยู่ในระดับเริ่มต้น การรักษาประคับประคองโดยการรับประทานยา กายภาพบำบัด ฉีดยาประเภทสารหล่อลื่น หรือเกล็ดเลือดเข้มข้น เข้าไปในข้อเข่ามักจะได้ผลค่อนข้างดี ในรายที่มีความเสื่อมมาก ส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดจัดมุมกระดูกใหม่ ในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าโก่ง หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพียงบางส่วน (Partial knee replacement) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total knee replacement) ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสื่อมที่รุนแรงมากจนการรักษาโดยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว 

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.83 of 10, จากจำนวนคนโหวต 153 คน

Related Health Blogs