bih.button.backtotop.text

เลเซอร์ตาชนิด Panretinal photocoagulation (PRP)

เลเซอร์ตาชนิด panretinal photocoagulation (PRP) เป็นการยิงเลเซอร์ทั่วจอประสาทตา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีรอยโรคทางประสาทจอตาเพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีรอยโรคทางประสาทจอตาเพิ่มมากขึ้น

 
​โรคทางจอประสาทตาที่มักได้รับการยิงเลเซอร์ชนิดนี้ ได้แก่ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา หลอดเลือดดำที่จอประสาทตาอุดตัน
  • เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy) มีหลายระยะ แต่ระยะที่ต้องรักษาด้วยเลเซอร์คือระยะที่มีการสร้างของหลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติที่จอประสาทตา ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่จอประสาทตาอย่างมาก ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เซลล์ของจอประสาทตาผลิตสารที่ทำให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่เพิ่มมากขึ้น หลอดเลือดที่สร้างใหม่นี้เป็นหลอดเลือดที่ผิดปกติ เปราะบาง และฉีกขาดได้ง่าย หากถูกดึงรั้งจะทำให้เกิดการแตกของหลอดเลือดได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นตา นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการสร้างพังผืดดึงรั้งจอตา ทำให้จอตาหลุดลอกตามมาและตาบอดในที่สุดได้
  • โรคหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตัน (retinal vein occlusion) ชนิดขาดเลือดรุนแรง ทำให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่บริเวณม่านตาและจอประสาทตา ทำให้มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาตามมาได้ ชนิดขาดเลือดไม่รุนแรง มักไม่ต้องได้รับการยิงเลเซอร์แต่ต้องติดตามดูใกล้ชิด เนื่องจากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเป็นชนิดขาดเลือดรุนแรงในเวลาต่อมาได้
  1. หลังการหยอดตาเพื่อขยายม่านตา ผู้ป่วยจะรู้สึกมองไม่ชัด แสงเข้าตามากขึ้น ตาพร่ามัวเป็นเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง พยาบาลจะให้คำแนะนำเรื่องการระวังเรื่องการพลัดตกหกล้ม
  2. ผู้ป่วยอาจมีอาการตึงๆ ในลูกตา สามารถรับประทานยาลดปวดได้
  3. ผู้ป่วยไม่ควรขยี้ตา
  4. หลังยิงเลเซอร์ผู้ป่วยสามารถล้างหน้า ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
  5. ผู้ป่วยจะต้องหยอดตาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  1. โดยทั่วไปจักษุแพทย์จะแบ่งยิงเลเซอร์ออกเป็น 2-3 ครั้ง เนื่องจากการยิงเลเซอร์ปริมาณมากในคราวเดียว อาจทำให้เกิดการบวมของชั้นใต้จอตา ซึ่งส่งผลให้ตามัวลงและความดันตาสูงขึ้นได้
  2. ระหว่างการยิงเลเซอร์ หากผู้ป่วยกลอกตามาจ้องแสงเลเซอร์อย่างฉับพลัน อาจทำให้แพทย์ยิงโดนบริเวณจุดรับภาพชัด ซึ่งส่งผลให้การมองเห็นตรงกลางลดลง ดังนั้นผู้ป่วยควรปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  3. การยิงเลเซอร์ที่จอตาอาจทำให้การมองเห็นแคบลงและการมองเห็นลดลงในที่มีแสงน้อยได้ อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการยิงเลเซอร์ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรจากโรคที่เป็น
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก อาจมีอาการชักขึ้นมาในระหว่างเลเซอร์ได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลให้ทราบถึงโรคประจำตัว เพื่อจะได้เตรียมการป้องกันที่เหมาะสม

อาการผิดปกติหลังยิงเลเซอร์ที่ควรมาพบแพทย์
  1. ตามัวลง
  2. มีอาการปวดตารุนแรงหรืออาการปวดยังคงอยู่แม้ว่าได้ใช้ยาแก้ปวดแล้ว
  3. ตาแดง มีขี้ตามาก

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษา
  1. การยิงเลเซอร์เป็นการลดภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงที่จอประสาทตา ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่และทำให้หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติหายไป
  2. การยิงเลเซอร์ที่จอประสาทตาไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมองเห็นดีขึ้นได้
  3. การยิงเลเซอร์ที่จอประสาทตาเป็นการรักษาที่จำเป็นในการยับยั้งโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้นและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาที่อาจรุนแรงจนตาบอดได้
แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตาร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย เช่น มีเลือดออกจนไม่สามารถยิงเลเซอร์ได้เพียงพอ มีจุดภาพชัดบวมร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังคงต้องได้รับการยิงเลเซอร์ด้วยเสมอ

 
ทำให้จอประสาทตาหลุดลอกและตาบอดในที่สุดได้

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs