bih.button.backtotop.text

การสอดท่อผ่านทางผิวหนังเพื่อให้อาหารทางกระเพาะ

Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG) คือ การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องโดยใช้ร่วมกับการส่องกล้องกระเพาะอาหาร โดยนำสาย percutaneous endoscopic gastrostomy เข้าไปในกระเพาะอาหารและเจาะผ่านทางผนังหน้าท้อง เพื่อเป็นทางไว้สำหรับให้อาหารแก่ผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหาร สารน้ำ และ/หรือยาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านทางปากหรือหลอดอาหาร

ข้อบ่งชี้ของการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง
การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องจะใส่ในกรณีผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและอาจทำให้ผู้ป่วยมีการดึงสายบ่อยๆ รวมทั้งอาจทำให้เกิดแผลกดทับที่จมูกจากสายยางให้อาหารผ่านจมูก หรือเกิดไซนัสอักเสบเนื่องจากสายให้อาหารที่ผ่านจมูกไปกดปิดรูเปิดของไซนัส (โพรงอากาศภายในกะโหลกศีรษะ) นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของอาหาร ทำให้สำลักได้ง่าย เสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอด การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย
 
สายให้อาหารทางหน้าท้องมี 3 ประเภท ได้แก่
  1. สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดหัวเห็ด (non-balloon percutaneous endoscopic gastrostomy) 
  2. สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดลูกโป่ง (balloon percutaneous endoscopic gastrostomy) 
  3. สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดระดับผิวหนัง (skin-level percutaneous endoscopic gastrostomy)
  1. ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร มีสถานะทางโภชนาการดีขึ้น
  2. เป็นที่ยอมรับว่าดีและใช้งานง่ายกว่าการใส่สายให้อาหารทางจมูก
  3. มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำและลดการเกิดภาวะปอดบวมจากการสำลัก โพรงจมูกอักเสบ
วิธีการให้อาหาร/สามารถรับประทานหรือดื่มน้ำได้หรือไม่
สารอาหารเหลวที่ให้ทางสายให้อาหารทางหน้าท้องทำได้โดยใช้กระบอกฉีดขนาดใหญ่ ใช้การหยดจากชุดสารอาหารเหลวที่บรรจุในถุงต่อกับท่อ หรือใช้อุปกรณ์ในการช่วยหยด แพทย์และเจ้าหน้าที่พยาบาลจะให้คำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการให้สารอาหารเหลวทางสายให้อาหารทางหน้าท้อง และเมื่อผู้ป่วยมีสายให้อาหารทางหน้าท้องไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดื่มหรือรับประทานทางปากได้ ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของสภาวะของร่างกาย
 
ต้องใช้สายให้อาหารทางหน้าท้องนานเท่าไร และถอดออกอย่างไร
สามารถใช้ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสายสามารถขาดหรืออุดตันได้เมื่อใช้เป็นเวลานาน จึงต้องเปลี่ยน แพทย์สามารถถอดหรือเปลี่ยนสายได้โดยไม่ต้องใช้ยาชาหรือยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ แพทย์จะดึงสายออกมาและใส่สายใหม่กลับเข้าไป หรือไม่ใส่กลับก็ได้หากไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว เมื่อทำการถอดท่อออกแล้ว แผลที่เปิดไว้จะปิดตัวเองเร็วมาก ดังนั้นหากจะใส่ใหม่จึงต้องระมัดระวังเรื่องตำแหน่งของสาย แพทย์จะนัดมาเปลี่ยนสายตามระยะเวลาและชนิดของสายให้อาหารทางหน้าท้องนั้นๆ โดยทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน
 
  • หัตถการนี้ไม่มีผลกับการเดินทางทางอากาศ
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 7 วันหลังทำหัตถการ
ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ควรปรึกษาแพทย์
 
ถ้าไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเพียงพอ กรณีใส่สายให้อาหารทางจมูกอาจเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะปอดบวมจากการสำลักและโพรงจมูกอักเสบได้
 
  1. การใส่สายให้อาหารผ่านจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร (Nasogastric tubes: NG tubes) ทุกครั้งที่ใส่สายให้อาหารผ่านจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหารควรมีการยืนยันตำแหน่งทุกครั้งด้วยการดูดปริมาณอาหารในกระเพาะอาหาร (gastric content) ในกรณีที่ไม่มี content ให้ตรวจสอบตำแหน่งสายด้วยการใส่ลมและฟังเสียงลมด้วย stethoscope ตรงตำแหน่งของกระเพาะอาหาร
  2. การใส่สายให้อาหารผ่านจมูกเข้าไปในลำไส้เล็กส่วนต้น (Nasojejunal tubes: NJ tubes) อาจพิจารณาจากผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวและมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน (gastric reflux) หรือการบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ (delayed gastric emptying) ขนาดของ nasojejunal tube คือสายเล็ก ขนาด 6-10 French

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs