bih.button.backtotop.text

การรักษาด้วยวิธี Photodynamic Therapy (PDT)

Photodynamic Therapy (PDT) เป็นวิธีการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (wet aged-related macular degeneration: wet AMD) โดยใช้แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเหมาะสมไปกระตุ้นตัวยาให้ออกฤทธิ์ไปทำลายเส้นเลือดที่งอกอยู่ใต้บริเวณจอประสาทตาส่วนที่มีพยาธิสภาพเพื่อยับยั้งหรือชะลอเส้นเลือดที่ผิดปกติที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตา ซึ่งแพทย์จะพิจารณาทำกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ขึ้นอยู่กับว่าหลอดเลือดที่ผิดปกติมีมากน้อยอยู่ในระดับไหนและเกิดขึ้นในบริเวณใด และแม้ว่าการรักษาจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมาหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยคงสภาพการมองเห็นที่เหลืออยู่ไว้ได้มากกว่าการที่ไม่ได้รับการรักษาเลย เนื่องจากเป็นการใช้เลเซอร์ที่ไม่เกิดความร้อน จึงปลอดภัยสำหรับจอประสาทตาส่วนอื่นที่ยังปกติ

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ

จุดประสงค์ในการทำหัตถการ คือ การรักษาระดับการมองเห็นในขณะนั้น หรือยับยั้งการดำเนินไปของโรคและเพื่อทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติซึ่งแตกได้ง่าย (เกิดเลือดออกและทำให้การมองเห็นลดลง) ไม่ให้ลุกลามมากขึ้น บางครั้งผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าการมองเห็นดีขึ้น ในขณะที่บางรายอาจไม่สามารถหยุดการสูญเสียการมองเห็นได้


 
  1. ผู้ป่วยจะได้รับการขยายม่านตาก่อนทำการรักษา
  2. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อคำนวณหาปริมาณยาที่เหมาะสม
  3. ให้ยา Verteporfin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น photosensitizer ซึ่งเป็นสารสีที่ไวแสงเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อให้ยาผ่านไปตามระบบไหลเวียนเลือดเข้าสู่จุดภาพชัด (macular) และจับกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา แล้วจึงตามด้วยการฉายแสงเลเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนเฉพาะกับเนื้อเยื่อที่จับกับสารสีนี้เท่านั้น (ตัวยาจะทำปฏิกิริยากับแสงเลเซอร์ที่ได้คำนวณระดับความเข้มข้นของยาและปริมาณแสงเลเซอร์ไว้ตั้งแต่แรก เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่มากพอจะทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติได้) โดยจะค่อยๆ ฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขนประมาณ 10 นาที
  4. ยิงเลเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนผ่านทางรูม่านตาไปยังจอประสาทตาตรงบริเวณที่ผิดปกติเพื่อกระตุ้นให้ตัวยาออกฤทธิ์ ภายหลังที่แพทย์มั่นใจว่ายาจับกับผนังเส้นเลือดที่งอกผิดปกติแล้วหลังการรักษาหลังยาขยายม่านตาหมดฤทธิ์
  5. ผู้ป่วยยังคงการมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ซึ่งในบางรายที่โรคยังไม่รุนแรงมากนัก การมองเห็นที่ลดลงก่อนการรักษาอาจฟื้นกลับขึ้นมาใกล้เคียงกับปกติได้ วิธีนี้จึงจัดว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัย
  1. งดการทำกิจกรรมทุกชนิดที่อาจเกิดความรุนแรงหรือกระทบกระเทือนต่อตาเป็นเวลา 1 เดือน
  2. หลังการใช้แสงเลเซอร์เพื่อกระตุ้นยาให้ออกฤทธิ์ ผู้ป่วยต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนังที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดหรือแสงที่มีความสว่างมาก สวมแว่นกันแดด สวมหมวกเพื่อป้องกันแสงแดด เนื่องจากฤทธิ์ยาที่มีผลไวต่อแสงอาจทำให้ผิวหนังแสบแดงได้ในบางราย
  3. เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านควรอยู่ในอาคารประมาณ 1-2 วัน เพื่อลดการโดนแสงแดด
  4. พบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามอาการหลังการยิงเลเซอร์
  1. การแพ้ที่ผิวหนังตรงบริเวณที่ฉีดยา
  2. มองเห็นภาพไม่ชัดหรือการมองเห็นผิดไป
  3. ปัญหาการเกิดภาวะต้อหินรุนแรง
  4. ประมาณ 3% (Borgia F, et. al. 2018, Schnurrbusch UE, et al. 2005) ของผู้ป่วยอาจพบว่ามีการปวดหลังขณะให้ยาแต่อาการมักเป็นชั่วขณะหนึ่งและจะหายไปได้หลังจากให้ยาจนครบ
  5. ประมาณ 20% (Borgia F, et. al. 2018, Schnurrbusch UE, et al. 2005) ของผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีการรบกวนการมองเห็นเล็กน้อยถึงปานกลาง
** การรักษาต้องใช้เวลานานและทำหลายครั้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ในกรณีการรักษาไม่ได้ผลโรคนี้มักไม่ทำให้เกิดตาบอด แต่จะทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดและ/หรือมองเห็นภาพผิดปกติดังที่กล่าวมา ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานที่ละเอียด อ่านหนังสือ ขับรถ จำหน้าคน และในการมองระยะไกล  
  1. การยิงเลเซอร์ชนิด Photocoagulation
  2. การรักษาด้วยการฉีดยากลุ่ม Anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor)
  3. การผ่าตัดน้ำวุ้นในลูกตา
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2566

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs