bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดซ่อมแซมกรวยไต

การผ่าตัดซ่อมแซมกรวยไต คือ การซ่อมแซมไตตรงจุดที่เรียกว่ากรวยไต (renal pelvis) ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของไตที่เชื่อมต่อไตกับท่อไต (หลอดนำปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ)

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อผ่าตัดแก้ไขกรวยไตตีบหรือมีภาวะอุดตันของเนื้อเยื่อที่เป็นโรคบริเวณรอยต่อระหว่างกรวยไตกับท่อไตทำให้ปัสสาวะไหลผ่านท่อไตไปยังกระเพาะปัสสาวะได้
 
เมื่อวินิจฉัยพบการอุดตันที่รอยต่อระหว่างกรวยไตกับท่อไต การจัดการกับภาวะนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดซ่อมแซมกรวยไตหรือการผ่าตัดอื่นๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ แพทย์มักพิจารณาถึงอาการแสดงที่เกิดจากการอุดตันในการใช้เป็นข้อบ่งชี้ของการทำหัตถการ เช่น อาการปวดบั้นเอวที่กลับเป็นซ้ำ คลื่นไส้ และอาเจียน สำหรับข้อบ่งชี้อื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อที่กลับเป็นซ้ำในทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ นิ่วในไตที่ข้างเดียวกัน และการทำงานของไตเสื่อมถอย  
 
ทุกการผ่าตัดล้วนมีความเสี่ยง แพทย์จะตรวจสอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและหาแนวทางป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดซ่อมแซมกรวยไต ได้แก่
  • มีเลือดออก
  • ติดเชื้อ
  • ไส้เลื่อนบริเวณที่มีการผ่าตัด
  • เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะโดยรอบที่ทำการผ่าตัด
  • การรั่วไหลของปัสสาวะ
  • ท่อไตอุดตัน
 
อาการที่ควรติดต่อแพทย์ทันที
  • มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณแผลผ่าตัด
  • มีเลือดออกมากหรือมีของเหลวไหลออกมาจากบาดแผล
  • คลื่นไส้และอาเจียนไม่หยุด
  • มีอาการปวดรุนแรงซึ่งไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยา
  • ปวดแสบขัดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือปัสสาวะลำบาก
  • พบเลือดในปัสสาวะซึ่งไม่ทุเลาลง หรือหายไปและกลับมาเป็นซ้ำ
โอกาสสำเร็จของการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
หากไม่ทำการรักษาอาจเกิดอันตรายกับไตได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
 
การใช้กล้องส่องเข้าไปผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะและท่อไต หรือการใช้เลเซอร์ซึ่งยึดติดกับบอลลูนเพื่อทำการตัดรอยตีบจากภายในและใส่ลวดถ่าง (ureteric stent) ตรงที่ตีบแคบซึ่งจะทำภายหลังประมาณ 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
 
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs