bih.button.backtotop.text

นิ่วในไตและท่อไต

นิ่วในไต คือ วัตถุที่เกิดจากการตกตะกอนของสารที่อยู่ในปัสสาวะบางชนิดที่บริเวณไต ถ้านิ่วนั้นหลุดออกมาอยู่ในท่อปัสสาวะก็มักเรียกว่านิ่วในท่อปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดนิ่วในไต

การหาสาเหตุของนิ่วจะต้องนำนิ่วไปวิเคราะห์ว่าเป็นเกลือของสารอะไร รวมทั้งต้องนำปัสสาวะไปตรวจจึงจะทราบสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
 

สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
  • ปัจจัยเสี่ยงด้านกายภาพของปัสสาวะ
ลักษณะทางกายภาพบางประการของปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสูงขึ้นที่จะเกิดนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ ตัวอย่างเช่น ปริมาณปัสสาวะที่น้อย ปริมาณแคลเซียมที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณกรดยูริกที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณสารออกซาเลตที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณสารซิเตรทที่ต่ำในปัสสาวะ การที่ปัสสาวะอยู่คงที่เดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ค่า pH ของปัสสาวะบางระดับยังก่อให้เกิดนิ่วชนิดต่างๆ แตกต่างกันได้
  • ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
การบริโภคอาหารหรือสารบางชนิดสามารถทำให้โอกาสการเกิดนิ่วในไตมีเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การบริโภคน้ำน้อย การบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ การบริโภคโพแทสเซียมไม่เพียงพออาจนำมาสู่การก่อนิ่วแคลเซียมได้ ในขณะที่การบริโภคอาหารที่มีสารออกซาเลตมาก โซเดียมมาก และวิตามินซีมาก สามารถก่อให้เกิดนิ่วแคลเซียมตามมาได้
การบริโภคเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก และเครื่องในปริมาณมาก อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้
  • ยาบางประเภท
ยาบางประเภทสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วได้ เช่น topiramate, acetazolamide, indinavir, triamterene
  1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • โรคหรือภาวะบางชนิด
ตัวอย่างเช่น โรคเกาต์ โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (hyperparathyroidism) โรคเบาหวาน โรคลำไส้หรือการผ่าตัดลำไส้บางประเภท เช่น short gut syndrome, inflammatory bowel disease, bowel resection, gastrointestinal bypass surgery โรคไตบางชนิด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน โรค cystinuria
  • ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและประวัติครอบครัว
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของนิ่วในไต ได้แก่
  • มีการอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว ทำให้เกิดอาการปวดอย่างมาก หากอุดตันเป็นเวลานานจะทำให้ไตข้างนั้นเกิดภาวะไตเสื่อมและไตวายในที่สุด
  • การติดเชื้อ เนื่องจากนิ่วอุดตันทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งอาจรุนแรงจนพัฒนาเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือถ้าปล่อยไว้นาน เกิดการติดเชื้อบ่อย จะทำให้เนื้อไตเสียจนกลายเป็นไตวายและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
  • ปวดบริเวณหลังหรือข้างลำตัว
  • ปัสสาวะปนเลือด
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปัสสาวะบ่อยหรือเกิดความรู้สึกว่าต้องปัสสาวะอย่างปัจจุบันทันด่วน
  • รู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะ
  • การใช้ยาแก้ปวดหรือการให้สารน้ำด้วยการรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด
  • การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา
  • การผ่าตัดหรือการทำหัตถการต่างๆ เพื่อสลายหรือกำจัดนิ่ว
  • รับประทานยาต่างๆ ตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ไม่ขาดยา และไม่หยุดยาเอง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มาก อย่างน้อยวันละ 2.5 ลิตร หรือดื่มน้ำตามที่แพทย์แนะนำ
  • ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • ควบคุมน้ำหนักให้มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ
  • จำกัดหรือลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง
  • ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วชนิดที่เกิดจากกรดยูริก ควรลดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ถั่ว รวมทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์
  • ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วชนิดแคลเซียม ควรงดการรับประทานอาหารเค็มที่มีโซเดียมมาก เนื่องจากมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
  • การรับประทานวิตามินซี วิตามินดี และแคลเซียมเสริมอาหาร อาจทำให้มีโอกาสเกิดนิ่วได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • หมั่นสังเกตสีและลักษณะของปัสสาวะอยู่เสมอ หากปัสสาวะขุ่นมากหรือมีลักษณะขุ่นแดง (มีเลือดปน) หรือมีนิ่วหลุดออกมา ควรเก็บไว้แล้วนำไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นนิ่วชนิดใด เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำและรักษานิ่วได้อย่างถูกต้อง
  • ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆ เลวร้ายลง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่อกลับมามีอาการแบบเดิมซ้ำอีก
มีทั้งหมด 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่
  1. เกลือแคลเซียม (calcium stones) เกิดจากแคลเซียมรวมกับออกซาเลต (เกิดนิ่วแคลเซียมออกซาเลต) หรือฟอสเฟต (เกิดนิ่วแคลเซียมฟอสเฟต) ในปัสสาวะ แล้วตกตะกอนเป็นนิ่ว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วแคลเซียมมีมากมาย ได้แก่ การดื่มน้ำน้อย ผู้ป่วยที่มีการขับแคลเซียมมากเกินไป ผู้ที่มีการขับออกซาเลตในปัสสาวะมากเกินไป (สำหรับนิ่วแคลเซียมออกซาเลต) ผู้ที่มีสารซิเตรทในปัสสาวะน้อยเกินไป ผู้ที่ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่างมาก (สำหรับนิ่วแคลเซียมฟอสเฟต) การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ การบริโภควิตามินซีปริมาณมาก โรคหรือภาวะบางชนิดเช่น medullary sponge kidney ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากไป (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ โรคอ้วน โรคลำไส้หรือการผ่าตัดลำไส้บางประเภท เช่น short gut syndrome, inflammatory bowel disease, bowel resection, gastrointestinal bypass surgery โรคไตบางประเภท
  2. กลือสตรูไวท์ (struvite stones) เกิดจากการรวมกันของแมกนีเซียม แอมโมเนียม และฟอสเฟต โดยนิ่วชนิดนี้สามารถเห็นได้จากเอกซเรย์ ถ้ามีขนาดใหญ่อาจมีลักษณะเหมือนเขากวาง (staghorn) มักพบในผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ซึ่งการรักษาจะไม่หายขาดหากไม่ได้เอานิ่วออกก่อน ปัสสาวะของผู้มีนิ่วชนิดนี้มักมีภาวะเป็นด่าง
  3. นิ่วกรดยูริก (uric acid stones) มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง ได้แก่ เครื่องใน สัตว์ปีก เป็นต้น ปัสสาวะที่มีภาวะเป็นกรดที่เกิดจากการบริโภคผักผลไม้น้อยจะช่วยเอื้อให้เกิดการก่อตัวของนิ่วชนิดนี้ นิ่วกรดยูริกไม่สามารถเห็นได้จากภาพเอกซเรย์ธรรมดา
  4. นิ่วซิสทีน (cystine stones) เกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการดูดซึมของสารซิสทีน (cystine) ทำให้มีสารนี้ในปัสสาวะมากและก่อเป็นนิ่วขึ้น
แก้ไขล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2566

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคไต

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.63 of 10, จากจำนวนคนโหวต 48 คน

Related Health Blogs