bih.button.backtotop.text

การรักษาเส้นเลือดขอดโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

การรักษาเส้นเลือดขอดโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ คือ การใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุซึ่งไม่ใช่พลังงานจากเลเซอร์ พลังงานนี้จะให้ความร้อนทำลายผนังด้านในของเส้นเลือดดำ การรักษาชนิดนี้เป็นหนึ่งในหลายวิธีของการรักษาเส้นเลือดขอด 

เส้นเลือดขอด คือ เส้นเลือดที่บวมและขยายขึ้นเป็นก้อนหรือผิดรูป มักพบได้ที่ขา เส้นเลือดขอดเกิดขึ้นเมื่อลิ้นเปิด-ปิดเล็กๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดดำทำงานไม่ปกติ สาเหตุของเส้นเลือดขอดยังไม่ชัดเจนนักแต่ปัจจัยบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดขอด เช่น การตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป และอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจไม่จำเป็นต้องรักษาเส้นเลือดขอดหากผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ เช่น อาการปวด บวม ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เกิดเป็นแผลบริเวณขา หรือการอักเสบ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเลือกรับการรักษาเพื่อความสวยงาม

จุดประสงค์/ประโยชน์ในการทำหัตถการ

ใช้ในการรักษาเส้นเลือดขอด โดยคลื่นวิทยุที่ถูกแปรพลังงานเป็นความร้อนจะทำให้เส้นใยของคอลลาเจนที่เป็นโครงสร้างสำคัญของผนังเส้นเลือดดำฝ่อตัวลงไปในที่สุด

 

ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงชนิดของยาที่รับประทานอยู่ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาบางชนิดก่อนการทำหัตถการ และโปรดแจ้งแพทย์หากมีประวัติแพ้ยาหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา (การฉีดสี)

การจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุทำโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ระหว่างการทำหัตถการผู้ป่วยจะรู้สึกตัวแต่ไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ในการทำหัตถการอาจมีการฉีดยาชาหลายจุดซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่สุขสบายเล็กน้อย แพทย์จะตรวจหาเส้นเลือดโดยผ่านเครื่อง
อัลตราซาวนด์และสอดท่อเล็กๆ ผ่านผิวหนังเข้าไปยังหลอดเลือดดำ เมื่อท่ออยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ขั้วของคลื่นความถี่วิทยุจะถูกส่งผ่านเข้าไปในท่อไปยังจุดที่ต้องการ จากนั้นแพทย์จะดึงปลายท่อกลับเล็กน้อยเพื่อให้ขั้วของคลื่นความถี่วิทยุโผล่ออกมา เมื่อมีการปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ แพทย์จะค่อยๆ ดึงขั้วกลับทีละน้อย หลังการทำหัตถการแผลจะถูกกดไว้เพื่อให้เลือดหยุดไหล แต่ไม่จำเป็นต้องเย็บปากแผล ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง

ภายหลังการทำหัตถการนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องสวมถุงน่องแบบรัดเพิ่มความดันบริเวณที่ทำหัตถการเพื่อลดอาการช้ำและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรรมต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ไม่แนะนำให้นั่งเป็นเวลานาน และยังไม่สามารถขึ้นเครื่องบินได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ภายหลังการทำหัตถการผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

  • การติดเชื้อที่แผลที่ทำการสอดท่อ
  • เส้นเลือดได้รับความเสียหาย
  • แผลช้ำและตึงหลังการทำหัตถการ
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
  • การอักเสบของหลอดเลือดดำ
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 5-7 วันหรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าจำเป็นต้องใช้ในการเดินทาง)
  • ขณะโดยสารบนเครื่องบินควรสวมถุงน่องแบบรัดสำหรับป้องกันเส้นเลือดอุดตัน

ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพร่างกายของผู้ป่วย หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา


หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

เส้นเลือดขอดมักไม่ใช่ปัญหาด้านสุขภาพโดยตรง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากไม่มีอาการใดๆ

 

  • การสวมถุงน่องแบบรัดเพิ่มความดัน
  • การรักษาโดยเลเซอร์
  • การฉีดสารรักษาเส้นเลือดขอด
  • การผ่าตัด
  • การผ่าตัดโดยใช้แสงส่องนำ

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs