bih.button.backtotop.text

การรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยวิธีการใช้ยางรัด

เป็นหัตถการที่ใช้ยางรัดบริเวณฐานของก้อนริดสีดวงทวาร ทำให้ไม่สามารถมีเลือดไปเลี้ยงที่ก้อนริดสีดวงได้ ก้อนริดสีดวงทวารจะมีขนาดเล็กลงและฝ่อไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ก้อนริดสีดวงที่ฝ่อแล้วและยางที่ใช้รัดนั้นจะหลุดออกมาพร้อมกับการขับถ่ายอุจจาระ

ริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวาร คือ เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณทวารหนักที่ประกอบด้วยหลอดเลือดและเยื่อบุที่ยืดหยุ่น มีหน้าที่ช่วยบุกล้ามเนื้อหูรูดและช่วยกลั้นอุจจาระให้สนิทโดยจะกลายเป็นริดสีดวงทวารก็ต่อเมื่อมีอาการบวมขึ้น เลื่อนออกมาหรืออักเสบ หรือมีเลือดสดๆ ออกมาเวลาถ่ายอุจจาระ
 
การรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยวิธีการใช้ยางรัด
เป็นหัตถการที่ใช้ยางรัดบริเวณฐานของก้อนริดสีดวงทวาร ทำให้ไม่สามารถมีเลือดไปเลี้ยงที่ก้อนริดสีดวงได้ ก้อนริดสีดวงทวารจะมีขนาดเล็กลงและฝ่อไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ก้อนริดสีดวงที่ฝ่อแล้วและยางที่ใช้รัดนั้นจะหลุดออกมาพร้อมกับการขับถ่ายอุจจาระ
 
แพทย์จะใช้ยางในการรักษาริดสีดวงทวารภายในที่โป่งพอง ซึ่งโดยมากแล้วจะใช้วิธีนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
  • ริดสีดวงทวารภายในมีเลือดออก
  • ก้อนริดสีดวงภายในโผล่ออกมาจากรูทวารหนัก
การรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยวิธีการใช้ยางรัดนับเป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมในการรักษาริดสีดวง เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัด รวมทั้งใช้เวลาน้อยกว่าในการฟื้นตัว วิธีการนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยอัตราการเกิดริดสีดวงขึ้นมาใหม่นั้นมีเพียงร้อยละ 5 ในระยะเวลา 2 ปี
 
ไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับความรู้สึก เนื่องจากบริเวณที่ใช้ยางรัดนั้นไม่มีประสาทรับความเจ็บปวดแต่อย่างใด
 
หลังจากทำหัตถการไปแล้ว 2-3 วันท่านอาจรู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณทวารและผายลมหรือขับถ่ายอุจจาระไม่สะดวก เมื่อท่านได้รับหัตถการและกลับบ้านไปนั้น ท่านควรปฏิบัติดังต่อไปนี้:
  • อย่า เบ่ง หรือกลั้นหายใจขณะขับถ่ายอุจจาระ
  • อย่านั่งอุจจาระนานเกินไป
  • เพื่อป้องกันอาการท้องผูกและต้องเบ่งอุจจาระ ท่านควรใช้ยาระบายอ่อนๆ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง (เช่น ผลไม้ ผัก ถั่ว และธัญพืช)
  • ใช้ครีมหรือยาทาตามคำสั่งแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก 1 สัปดาห์
  • ท่านอาจมีเลือดออกหลังจากทำหัตถการและหลังจากที่ก้อนริดสีดวงหลุดออกมาแล้ว
  • มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
ความสำเร็จของการรักษาขึ้นกับหลายปัจจัย โดยทั่วไปแล้วการใช้ยางรัดเพียงครั้งเดียวสามารถรักษาได้เห็นผลเป็นที่น่าพอใจ หากยังคงมีเลือดออกและติ่งเนื้อริดสีดวงไม่หลุดออก อาจต้องทำการรัดยางอีกครั้ง หรือใช้วิธีการรักษาแบบดั้งเดิม หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
การฉีดยาหรือการผ่าตัด
 
แก้ไขล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2564

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs