bih.button.backtotop.text

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร เป็นโครงสร้างหลอดเลือดในรูทวาร ในสภาวะปกติจะเป็นเหมือนเบาะบุโดยรอบที่ช่วยควบคุมอุจจาระและปกป้องหูรูดทวารหนัก แต่จะกลายเป็นโรคเมื่อเกิดจากการบวมหรือการหย่อนยานของเนื้อเยื่อบริเวณภายในปากทวารหนัก

ริดสีดวงทวารโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ประเภท
  1. ริดสีดวงทวารภายนอก อยู่ภายนอกรูทวารและเป็นสาเหตุให้เกิดก้อนยื่นออกจากรูทวาร อาการคือปวดและบวมบริเวณทวารหนัก
  2. ริดสีดวงทวารภายใน อยู่ภายในรูทวาร มักแสดงอาการด้วยการมีเลือดสีแดงสดออกจากทวารหนัก
  • ระยะที่ 1 มีอาการเลือดออกทางทวารหนัก แต่ไม่มีเนื้อเยื่อออกมาทางทวารหนัก
  • ระยะที่ 2  มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนักหลังจากถ่ายแล้วจะหดกลับเข้าไปได้เอง
  • ระยะที่ 3 มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนัก ต้องใช้นิ้วดันถึงจะหดกลับเข้าไป
  • ระยะที่ 4 มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนักตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้
  • สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การเบ่งถ่าย/นั่งในห้องน้ำนานๆ การรีบเร่งการขับถ่ายจะทำให้เกิดแรงดันให้เลือดมาคั่งบริเวณทวารหนัก
  • ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์
  • มีเลือดสีแดงสดออกทางทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ
  • รู้สึกว่ามีก้อนออกทางทวารหนัก เนื่องจากเส้นเลือดที่บวมพองอาจเคลื่อนตัวออกมาจากรูทวารหนัก
  • อาจรู้สึกคันทวารหนัก
  • เจ็บปวด เนื่องจากเส้นเลือดที่อยู่รอบๆ ทวารหนัก เมื่อเกิดการจับตัวของลิ่มเลือดในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น (อาการเช่นนี้เรียกว่า thrombosed external hemorrhoids)
  • กรณีที่มีเลือดออกมานาน อาจมีอาการของการขาดเลือด โลหิตจาง หน้ามืด เวียนศีรษะ
  • ตรวจดูปากทวารหนัก
  • ตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือ เพื่อแยกโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน
  • ตรวจทวารหนักด้วยกล้องขนาดเล็ก เพื่อดูความผิดปกติได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
  • การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการขับถ่าย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
    • ใช้ยาเหน็บทวารหนัก โดยสอดเข้าไปในทวารหนักหลังจากถ่ายหรืออาบน้ำเสร็จ ยาเหน็บทวารหนักมีออกมาในรูปยาทาจะใช้ได้ในกรณีที่เยื่อบุทวารหนักชนิดภายในโผล่ออกมาภายนอก
    • ใช้เทคนิคการยิงยางรัดริดสีดวงทวารเพื่อระงับการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณนั้น ก้อนริดสีดวงจะค่อยๆ ฝ่อไปภายใน 5-10 วัน วิธีนี้ใช้ได้ผลในกรณีที่ก้อนริดสีดวงมีขนาดเล็กและขนาดกลางที่ยื่นออกมานอกทวารหนัก
    • ในบางครั้งแพทย์อาจใช้การฉีดยารอบๆ เส้นเลือดเพื่อทำให้ก้อนริดสีดวงทวารภายในที่ไม่เป็นมากฝ่อไป
    • การจี้ด้วยไฟฟ้า การจี้ด้วยความเย็นหรือความร้อน และอื่นๆ จะใช้สำหรับริดสีดวงทวารภายในที่มีขนาดเล็ก
  • การรักษาแบบผ่าตัด เป็นทางเลือกวิธีสุดท้ายเมื่ออื่นไม่ได้ผล หรือในรายที่มีอาการปวดมาก หรือในระยะสุดท้ายของริดสีดวงทวารระยะที่ 3 หรือ 4 (ริดสีดวงภายนอกอักเสบ) ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลเซอร์ การเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวงทวารหนัก การใช้เครื่องมือ stapler และการผ่าตัดแบบมาตรฐาน
  • การจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ร่วมกับความต้องการของผู้ป่วย
สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้โดย
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ไม่นั่งนานๆ โดยเฉพาะนั่งส้วม
  • หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระแรงๆ หากเป็นโรคท้องผูกให้พบแพทย์เพื่อรักษา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • อย่ากลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แก้ไขล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2566

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs