bih.button.backtotop.text

การใส่สายระบายปัสสาวะในท่อไต

การใส่สายระบายปัสสาวะในท่อไต (Ureteral Stenting, Double J Stent) คือ การใส่ท่อพลาสติกเส้นเล็กๆ ยืดหยุ่นได้ไว้ในท่อไตเพียงชั่วคราวเพื่อช่วยให้ปัสสาวะไหลจากไตลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้เมื่อท่อไตเกิดอุดตัน

ท่อไตเป็นช่องทางนำปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างเชื่อมต่อกับท่อไตหนึ่งเส้น บางครั้งท่อไตทั้งสองข้างเกิดอุดตันพร้อมกันทำให้ต้องใส่สายระบายปัสสาวะในท่อไตทั้งสองข้าง แต่กรณีเช่นนี้เกิดน้อยมาก

ระยะเวลาที่ใส่สายระบายปัสสาวะไว้จะนานเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อาจใส่เพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนก็เป็นได้

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ

เพื่อช่วยในขณะรักษา เช่น การผ่าตัดแก้ไขปัญหาท่อไตที่อาจอุดตันจากหลายสาเหตุ เช่น

การใส่สายระบายปัสสาวะในท่อไตอาจทำระหว่างหรือหลังจากผ่าตัดรักษาทางเดินปัสสาวะก็ได้ วัตถุประสงค์คือใช้เป็นทางให้เนื้อเยื่อสมานตัวกันรอบๆ สายเพื่อเบี่ยงทิศทางปัสสาวะจากบริเวณที่รั่วให้มาตามเส้นทางที่กำหนดแทน เพื่อควบคุมก้อนนิ่วหรือป้องกันไม่ให้ก้อนนิ่วเคลื่อนที่ก่อนจะรักษา หรือเพื่อให้สามารถเห็นท่อไตได้ชัดเจนระหว่างการผ่าตัด

  • เลือดออก
  • ปวดหลัง กระเพาะปัสสาวะ และขาหนีบ ผู้ชายอาจรู้สึกปวดองคชาต ขณะที่ผู้หญิงอาจพบมีปวดท่อปัสสาวะ
  • อาจพบมีปัสสาวะเล็ดในสตรี
  • สายระบายปัสสาวะเคลื่อนที่หรือหลุด
  • สายระบายปัสสาวะม้วนขดอยู่ในท่อไต ทำให้ปวดท้องเมื่อถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยหรือมีเลือดออกมากับปัสสาวะ
  • ติดเชื้อหรืออาการติดเชื้อที่เป็นอยู่แล้วหนักยิ่งขึ้น
  • สายระบายปัสสาวะไปทิ่มอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
  • มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อยาสลบ

·   ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา

·        ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 วันหรือตลอดระยะเวลาการรักษา

·        หากผู้ป่วยมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ

·        ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา


หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับสาเหตุที่ทำให้ต้องใส่สายระบายปัสสาวะ หากเกิดจากเคยผ่าตัดมาก่อนแล้วท่อไตยังไม่หายดีก็อาจบาดเจ็บซ้ำได้ หากเป็นนิ่วแล้วไม่เอานิ่วออกจะทำให้ปวดและอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ต่อไป หากทางเดินปัสสาวะอุดตันไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้อาจทำให้ติดเชื้อและอาจมีอาการอื่นๆ ด้วย

หากไม่สามารถใส่สายระบายปัสสาวะเพื่อแก้ไขอาการท่อไตถูกอุดกั้นได้ อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเล็กโดยสอดท่อระบายผ่านผิวหนังผ่านไตเข้าสู่กรวยไต (nephrostomy) คือการใส่สายเข้าทางหลังเพื่อให้เข้าไปสู่ไตตำแหน่งที่เป็นที่เก็บปัสสาวะ แล้วต่อสายเข้ากับถุงรับของเสียนอกร่างกาย วิธีนี้จะมีข้อไม่สะดวกคือมีถุงปัสสาวะติดตัว

แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs