bih.button.backtotop.text

การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง

 เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังหักหรือทรุดและภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปอันเนื่องมาจากกระดูกพรุนเป็นหลัก รวมถึงผู้ป่วยที่มีเนื้องอกบริเวณไขสันหลังและไขสันหลังได้รับบาดเจ็บด้วย

Vertebroplasty/kyphoplasty คืออะไร
Vertebroplasty เป็นการฉีดซีเมนต์บริเวณกระดูกสันหลังเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง ส่วน kyphoplasty มีหลักการคล้ายกับ vertebroplasty แต่แตกต่างกันที่ kyphoplasty จะใช้บอลลูนถ่างขยายในบริเวณกระดูกสันหลังชิ้นที่พรุน เพื่อให้บอลลูนคงรูปร่างของกระดูกสันหลังที่หักหรือยุบตัวไว้ ช่วยลดการเกิดภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปและป้องกันไม่ให้เกิดการหักซ้ำ

 

  • ลดระยะเวลาในการพักฟื้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะนอนพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น
  • ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในขณะที่รักษาโรคกระดูกพรุน
ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธี vertebroplasty/kyphoplasty ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีเพื่อยืนยันตำแหน่งของกระดูกสันหลังหักยุบที่ถูกต้องก่อน เมื่อเข้ารับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาหรือดมยาสลบ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการจัดท่านอนคว่ำบนเตียงผ่าตัด และแพทย์จะกรีดผิวหนังบริเวณสันหลังเป็นรอยเล็กๆ เพื่อใส่เข็มที่จะฉีดซีเมนต์บริเวณกระดูกสันหลังภายใต้การควบคุมตำแหน่งโดยเครื่องถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ เมื่อฉีดซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะค่อยๆ ดึงเข็มออกและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อกระดูกสันหลัง 1 ชิ้น สำหรับการทำ balloon kyphoplasty ก็เช่นเดียวกับ vertebroplasty เพียงแต่ก่อนการฉีดซีเมนต์จะใช้บอลลูนถ่างขยายเพื่อสร้างช่องว่างแล้วจึงฉีดซีเมนต์ใส่ที่ช่องว่างนั้น
การรักษาด้วยวิธี vertebroplasty/kyphoplasty อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดได้จากภาวะทางสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเองหรือเกิดจากการทำหัตถการทางกระดูกสันหลัง เช่น
  • เกิดภาวะกระดูกหักใหม่
  • ติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง (พบได้น้อย)
  • ซีเมนต์รั่วทะลุไปทางด้านหลังของกระดูกสันหลังแล้วไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการขาอ่อนแรง (พบได้น้อยมาก)
  • ผู้ที่มีกระดูกสันหลังหักหรือทรุดเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีกระดูกสันหลังผิดรูปเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังติดช้าที่เกิดจากกระดูกสันหลังหักจากภาวะกระดูกพรุน
แก้ไขล่าสุด: 02 ธันวาคม 2563

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.40 of 10, จากจำนวนคนโหวต 60 คน

Related Health Blogs