อาการที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมา ทำให้กระจกตามีความผิดปกติ แบ่งได้หลายประเภท เช่น กระจกตาย้วย กระจกตาโป่งพอง กระจกตาโก่ง เกิดจากบางส่วนของกระจกตาเกิดการบางตัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ความดันภายในลูกตา ดันกระจกตาส่วนที่บางให้นูนขึ้นมา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น มองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยว ดวงตาไวต่อแสง และอาจต้องเปลี่ยนแว่นสายตาอยู่บ่อย ๆ มักจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนแย่ลงภายในระยะเวลาประมาณ 10–20 ปี
เป็นการอักเสบที่เนื้อเยื่อกระจกตา มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือการบาดเจ็บของกระจกตา ซึ่งทำให้มีอาการตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว สู้แสงไม่ได้ มีน้ำตาไหลมากตลอดเวลา เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ โดยอาการและความเร็วของการดำเนินโรคจะขึ้นกับความรุนแรงของเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น กระจกตาทะลุ การอักเสบลุกลามเข้าไปในน้ำวุ้นตา ต้อหินแทรกซ้อน
ต้อกระจกแทรกซ้อน
มักเกิดจากพันธุกรรม ทำให้เซลล์ของกระจกตาทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานตามปกติทำให้มองภาพได้ไม่ชัด
การเกิดรอยถลอกบริเวณกระจกตาและอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ ถ้าแผลเล็กและตื้นจะหายได้ภายใน 2 – 3 วัน แต่ถ้าแผลลึกมากอาจจะเกิดเป็นแผลเป็น ทำให้กระจกตาบริเวณที่มีแผลเป็นนั้นทึบแสงหรือแสงผ่านได้น้อย ส่งผลให้ตามัวมองเห็นไม่ชัด
เกิดจากเซลล์ชั้นที่ 5 Endothelial cell ของกระจกตาด้านในสุด มีปริมาณเซลล์น้อยลงจนไม่สามารถทำงานได้ปกติ ทำให้การดูดน้ำออกจากกระจกตาแย่ลง กระจกตาจึงไม่สามารถคงความใสได้ เนื่องจากน้ำเข้าไปแทรกด้านในมีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการกระจายแสง ทำให้กระจกตาบวมน้ำ สาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมกระจกตาเสื่อมที่ถ่ายทอดจากยีนเด่น ,
โรคต้อหิน , การติดเชื้อเริมหรือ
งูสวัด หรืออุบัติเหตุ
- ภาวะปฏิเสธกระจกตาที่ปลูกถ่าย
เกิดจากร่างกายปฏิเสธกระจกตาที่นำมาปลูกถ่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรับรู้ว่ากระจกตาที่ได้รับบริจาคเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามทำลาย ทำให้มีอาการต่างๆ เช่น การมองเห็นลดลง มีอาการ
ตาแดง อาการระคายเคือง น้ำตาไหล และอาการแพ้แสง