bih.button.backtotop.text

มะเร็งในผู้หญิง

Layout-Women-Center-Element_ศนยสต-นรเวช.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพผหญง.pngสุขภาพวัยทองLayout-Women-Center-Element_สขภาพเตานม.png


 Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง.pngLayout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภ-และคลอดบตร-(1).pngLayout-Women-Center-Element_คลนกนมแม-(1).pngLayout-Women-Center-Element_แผนกบำบดพเศษทารกแรกเกด-(1).png

มะเร็งในผู้หญิง

จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง 5 อันดับแรก  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งมดลูก มะเร็งเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย การได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ช่วยให้มีโอกาสรักษาหายและรอดชีวิตสูง ผู้หญิงทุกคนจึงควรตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี รวมถึงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มต้น แม้ไม่มีอาการ เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้รักษาได้อย่างทันท่วงที และได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

มะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวนด์ทุก 1-2 ปี


มะเร็งปากมดลูก

ป้องกันได้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Co-test หรือการตรวจแปปสเมียร์ (Pap test) ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV ผู้หญิงตั้งแต่อายุ 9 ขวบจนถึงอายุ 26 ปีควรฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV


มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หาก ผู้มีภาวะประจำเดือนผิดปกติ ควรไปพบสูตินรีแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น


มะเร็งรังไข่

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ แต่สามารถป้องกันได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ


มะเร็งมดลูก

ผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอรวมถึงสตรีที่ไม่มีบุตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมดลูกสูง

Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง-1.png

ผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้อง


Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง-2.png

การใช้รังสีรักษา


Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง-3.png

การให้เคมีบำบัด และการรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งทางนรีเวช


แก้ไขล่าสุด: 02 กันยายน 2567

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs