You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ตาโปนจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือจากโรคเกรฟส์ (Graves' disease) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune disease) ที่ส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเกินไปจนทำให้อวัยวะต่างๆ ซึ่งรวมถึงดวงตามีอาการผิดปกติ หนึ่งในอาการทางตาของผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือ ตาโปน ซึ่งเป็นผลจากการที่มีฮอร์โมนส่วนเกินไปสะสมที่กล้ามเนื้อหลังลูกตาทำให้กล้ามเนื้อหลังลูกตาและไขมันในเบ้าตาบวมใหญ่ จนดันให้ลูกตาโปนยื่นออกมาด้านหน้าของเบ้าตา โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเมื่อปล่อยทิ้งไว้ก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน หรือบางรายอาจมีภาพซ้อน ซึ่งเกิดจากมีฮอร์โมนไปสะสมที่กล้ามเนื้อตา ซึ่งทำหน้าที่ในการกรอกตา ทำให้ความสามารถในการกรอกตาผิดปกติและเกิดอาการตาเขและภาพซ้อนตามมาได้
อาการข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับตาโปน ได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นลดลง ตามัว เห็นภาพซ้อน เคืองตา ตาแดง ตาแห้ง น้ำตาไหลมากผิดปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงแน่นเหมือนมีอะไรดันอยู่หลังลูกตา
นอกจากนี้ ยังมีลักษณะภายนอกที่เกิดร่วมกับตาโปน เช่น หลับตาไม่สนิท เปลือกตารั้งขึ้นไปด้านหลัง ทำให้เปลือกตาบนสูงเกินระดับปกติ เปลือกตาล่างต่ำเกินไปจากระดับปกติ ตาเข และอาจมีต้อหินแทรกได้
การรักษาอาการตาโปนนั้นจะต้องทำไปพร้อมกับการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ นั่นคือผู้ป่วยจำเป็นต้องพบอายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อเพื่อรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษให้หายขาด หรือควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ให้อยู่ในระดับปกติ และพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาอาการตาโปนควบคู่กันไปเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการรักษาอาการตาโปนจะเป็นการรักษาตามอาการซึ่งเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 2-3 เดือน กรณีที่อาการตาโปน ภาพซ้อน ตาเข เปลือกตาผิดปกติ อาจจำเป็นต้องพิจารณาเข้ารับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เพื่อลดความรุนแรงของโรค รักษาอาการตาแห้ง เคืองตา เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่ ภาวะตาโปนจะเริ่มสงบหลังจากที่เริ่มเป็นมาประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปีแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเป็นปกติ ตาโปนน้อยลง หรืออาจยังโปนมากอยู่ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดแก้ไขเบ้าตาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งเกี่ยวกับตาโดยเฉพาะ
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเกือบทุกส่วน หากฮอร์โมนดังกล่าวมีปริมาณมากเกินไปจนเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ มาดูกันว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นเป็นอย่างไร
โรคไทรอยด์ไทรอยด์เป็นพิษ
ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณใต้ลูกกระเดือกทางด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด