bih.button.backtotop.text

ภาวะสายตายาวแต่กำเนิด

สายตายาวแต่กำเนิดคือการที่แสงไปโฟกัสที่ด้านหลังของจอประสาทตาแทนที่จะโฟกัสลงบนจอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้และไกลไม่ชัด เด็กส่วนใหญ่เกิดมามีสายตายาวซึ่งไม่รู้ตัวเพราะว่ากล้ามเนื้อตามีความแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ทำให้ปรับการมองเห็นได้ดี และค่าสายตามักจะพัฒนาเป็นปกติเมื่อโตขึ้น แต่ในบางรายอาจมีสายตายาวไปตลอดและมีอาการชัดเจนขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อตาที่ค่อยๆเสื่อมสภาพ

สาเหตุของภาวะสายตายาวแต่กำเนิด
สายตายาวแต่กำเนิดเกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล
  • มองเห็นไม่ชัด โดยเฉพาะมองใกล้
  • ตาอ่อนล้า
  • ปวดศีรษะ
เด็กที่มีภาวะสายตายาวรุนแรงและไม่ได้รักษาอาจทำให้ตาเหล่หรือตาเขได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตท่าทางที่อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กสายตายาว เช่น การขยี้ตาบ่อยๆ เด็กมีพัฒนาการช้า มีปัญหาในการเรียนรู้
จักษุแพทย์จะทำการวินิจฉัยสายตายาแต่กำเนิดด้วยวิธีการดังนี้
  • การตรวจระดับการมองเห็น (visual acuity assessment test) เพื่อวินิจฉัยภาวะสายตาสั้นโดยให้อ่านตัวอักษรหรือตัวเลขบนแผนภูมิในระยะที่กำหนด
  • การทดสอบความหักเหของแสงที่เข้าสู่ดวงตา (refraction test) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Phoropter เครื่องมือจะมีเลนส์หลายชุดที่มีขนาดกำลังต่างๆกันและให้อ่านแผนภูมิขณะมองผ่านเลนส์ที่มีกำลังแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ค่าเลนส์ที่เหมาะสมในการแก้ไขสายตา
  • เครื่องมือวัดแสงสะท้อนจากจอประสาทตา (retinoscope) แสงที่สะท้อนออกมาจะสามารถบอกค่าความผิดปกติของสายตาได้
  • ตรวจตาอย่างละเอียด โดยจักษุแพทย์ (Slitlamp examination) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ตาแห้งหรือจอประสาทตาเสื่อม
ภาวะสายตายาวแต่กำเนิดสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เลนส์นูนเพื่อช่วยเพิ่มกำลังการโฟกัสให้มากขึ้นให้แสงไปโฟกัสที่จอประสาทตา ทำให้สามารถมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น การแก้ไขสายตายาวแต่กำเนิดมีทางเลือกทั้งแบบไม่ถาวรและแบบถาวร

การรักษาแบบไม่ถาวร
  • แว่นสายตา เป็นทางเลือกที่นิยมเพราะปลอดภัย กรอบและเลนส์ที่แข็งแรงอาจช่วยป้องกันดวงตาจากอุบัติเหตุได้บางส่วน การแก้ไขทำได้โดยการใส่แว่นเลนส์ที่ทำจากเลนส์นูน
  • เลนส์สัมผัส สำหรับสายตายาวโดยเฉพาะ
การรักษาแบบถาวร
การรักษาแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือการผ่าตัดแก้ไขปรับความโค้งของกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขที่ระดับของเลนส์ตา

การผ่าตัดแก้ไขปรับความโค้งของกระจกตา
  • Photorefractive Keratectomy (PRK) ทำได้โดยการเปิดผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออกแล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ชนิดเย็นยิงลงบนเนื้อกระจกตา เพื่อปรับความโค้งที่ผิวกระจกตา แก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติก่อนปิดแผลที่ผิวกระจกตาด้วยเลนส์สัมผัสเพื่อลดอาการระคายเคืองประมาณ 5-7 วัน
  • Laser-assisted in situ Keratomileusis (LASIK) เป็นการผ่าตัดสายตาด้วยการเปิดฝากระจกตาด้วยเครื่องมือใบมีดติดมอเตอร์ (microkeratome) เพื่อสร้างฝากระจกตาให้มีลักษณะคล้ายบานพับ (flap) แล้วจึงเปิดฝานั้นไปด้านข้าง ให้ได้เนื้อกระจกตาส่วนกลางที่จะใช้รองรับเลเซอร์ในขั้นตอนถัดไป จากนั้นจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ปรับความโค้งเนื้อกระจกตา เมื่อเสร็จแล้วจึงปิดฝากระจกตากลับเข้าไปที่เดิม
  • Femtosecond laser-assisted LASIK (Femto-LASIK) การทำเลสิก แบบไร้ใบมีด โดยการใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (femtosecond laser) สร้างฝากระจกตาแทนการใช้ใบมีด ทำให้การสร้างฝากระจกตาแม่นยำขึ้น ได้ฝากระจกตาที่หนาเท่ากันทั้งแผ่น และสามารถทำขอบกระจกตาเป็นมุมเข้าร่องกับเนื้อกระจกตาข้างเคียง ทำให้ปิดกลับเข้าที่เดิมได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสเคลื่อนของฝากระจกตา


 
ภาวะสายตายาวแต่กำเนิดป้องกันไม่ได้ แต่ตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการพาเด็กมาพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตา ผู้ที่มีสายตายาวแต่กำเนิดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตาอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก ดังนั้นจึงควรตรวจตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง
แก้ไขล่าสุด: 23 มีนาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เลเซอร์สายตา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs