bih.button.backtotop.text

การรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเฟมโตเซเคินเลสิก (femtosecond LASIK)

การรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิกเป็นการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาว ซึ่งที่ผ่านมาจักษุแพทย์จะใช้ใบมีดหรือเครื่องไมโครเคอราโตม (microkeratome) ในขั้นตอนของการแยกชั้นกระจกตา ซึ่งอาจมีโอกาสที่ฝากระจกตาจะไม่สมบูรณ์ได้ แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแยกชั้นกระจกตาด้วยแสงเลเซอร์ที่เรียกว่า femtosecond laser เพื่อให้สามารถแยกชั้นกระจกตาได้โดยปราศจากการใช้ใบมีด ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษาและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการใช้ใบมีดแยกชั้นกระจกตา

Femtosecond laser คืออะไร
เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (femtosecond laser) เป็นเครื่องเลเซอร์ที่ปลดปล่อยพลังงานเลเซอร์ในอัตราความเร็วสูงวัดเป็นหน่วยได้ 1 เฟมโตวินาทีหรือหนึ่งในพันพันล้านของวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เมื่อนำไปใช้แทนใบมีดในการแยกชั้นกระจกตาหรือเปิดแผลที่กระจกตา แสงเลเซอร์จะสามารถกำหนดเป้าหมาย ขนาดและรูปแบบที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยการสลายเนื้อเยื่อ ในระดับโมเลกุล โดยไม่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยรอบและไม่เกิดความร้อนขณะยิง

บทความและวีดีโอที่เกี่ยวข้อง

มาทำความรู้จักเฟมโตเซเคินเลสิก (Femtosecond LASIK) ทางเลือกในการแก้ไขสายตา วิธีไหนบ้างที่เหมาะสำหรับคุณ?
ภาพบทความตา-01.jpg Layout-ทางเลอกในการแกไขสายตา-วธไหนบางทเหมาะสำหรบคณ-Blog_Blog-Cover-(1).jpg
อ่านเพิ่มเติม > อ่านเพิ่มเติม >

การรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธี femtosecond LASIK ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ

  • ขั้นตอนแรก แพทย์จะแยกชั้นกระจกตาด้วยแสงเลเซอร์โดยใช้ femtosecond laser ให้ได้ฝากระจกตาชั้นนอกลักษณะคล้ายบานพับ เพื่อที่จะเปิดออกไปด้านข้างให้เห็นเนื้อกระจกตาด้านล่างสำหรับรองรับการยิงเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์เย็นที่มีความแม่นยำสูงในขั้นตอนต่อไป
  • ขั้นตอนที่สอง แพทย์จะเปิดฝากระจกตา แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่างเพื่อปรับความโค้งของกระจกตา เป็นการแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติ จากนั้นจึงปิดฝากระจกตากลับเข้าที่ตามเดิมโดยไม่มีการเย็บ
  • มีสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาวแต่กำเนิด
  • มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี (ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5 diopter ใน 1 ปี)
  • ไม่มีโรคของกระจกตาหรือโรคตาที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคเอสแอลอี เป็นต้น
  • มีปัญหาในการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ซึ่งกระทบต่ออาชีพ กิจวัตรประจำวัน หรืองานอดิเรก
  • ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีความเสี่ยงต่อการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด เช่น ขนาดลูกตาเล็ก เนื่องจาก femtosecond laser ถูกออกแบบให้ใช้พื้นที่บนดวงตาน้อยกว่าการใช้ใบมีด หรือมีกระจกตาโก่งหรือแบนกว่าปกติ เพราะการทำงานของ femtosecond laser ไม่ขึ้นกับความโค้งของกระจกตา
  • มีความรู้สึกกลัวการผ่าตัดแบบเดิม ซึ่งขณะแยกชั้นกระจกตาจะมีเสียงดังจากมอเตอร์และมองไม่เห็นแสงไฟราว 20 วินาที ขณะที่ femtosecond laser ไม่มีเสียง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล แรงที่สัมผัสตาจะน้อยกว่า จึงมีความรู้สึกสบายตากว่า

ก่อนเข้ารับการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วย femtosecond LASIK จะต้องมีการตรวจประเมินสภาพสายตา โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ดังนี้

  • ตรวจวัดค่าสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  • ทดสอบการมองเห็น
  • วัดความดันตา
  • ตรวจและวัดค่าสายตาโดยจักษุแพทย์
  • วัดปริมาณน้ำตา
  • ตรวจหาค่าการกระจายตัวของแสงในลูกตา (wavefront aberration) ด้วยเครื่อง wavefront analyser
  • ถ่ายภาพพื้นผิวกระจกตาและวัดความหนาของกระจกตา
  • หยอดยาขยายม่านตา
  • ตรวจสภาพจอประสาทตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์
ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาด้วย femtosecond LASIK โดยเฉลี่ยข้างละ 15 นาที เมื่อทำเสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องนอนพักค้างคืนที่โรงพยาบาล

การใช้ femtosecond laser เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการแยกชั้นกระจกตาและเพิ่มคุณภาพของการมองเห็นหลังทำเลสิกเทียบกับการใช้ใบมีด เนื่องจากเลเซอร์มีความแม่นยำสูงมาก สามารถกำหนดลักษณะของฝากระจกตาที่ต้องการได้

  • ช่วยลดความคลาดเคลื่อนของการแยกชั้นกระจกตา กระจกตาที่แยกได้มีความเรียบ มีความหนาเท่ากันหมดทั้งแผ่น ลดปัญหาฝากระจกตาไม่สมบูรณ์ต่างๆ และผิวกระจกตาถลอก
  • ขอบฝากระจกตาตัดเรียบเป็นมุมเข้ากับเนื้อกระจกตาด้านล่างได้พอดี ฝากระจกตาจึงปิดกลับลงที่เดิมได้สนิท ลดโอกาสเกิดฝากระจกตาย่นหรือไม่กลับเข้าที่เดิม และช่วยลดปัญหาภาวะแสงกระจายตอนกลางคืน
  • ช่วยให้กระจกตาสมานตัวเร็ว ระยะพักฟื้นลดลง
  • ลดอาการตาแห้งของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดโดยรวมเฉลี่ยข้างละ 15 นาที
ผลข้างเคียงภายหลังการทำ femtosecond LASIK พบได้ค่อนข้างน้อย อาจพบภาวะตาแห้งหรือแสงกระจายในที่มืดได้บ้าง ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เองภายใน 3-6 เดือนหลังการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการบีบตาหรือขยี้ตาแรงๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรก เนื่องจากฝากระจกตาที่แยกชั้นด้วย femtosecond laser จะมีความบางมาก
  • ควรใส่ที่ครอบตาเวลานอนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการขยี้ตาโดยไม่รู้ตัว
  • ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาเป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • หยอดตาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
  • ไม่ควรใช้สายตาในการจ้องมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์
  • ตรวจติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี
แก้ไขล่าสุด: 02 มีนาคม 2565

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เลเซอร์สายตา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.87 of 10, จากจำนวนคนโหวต 91 คน

Related Health Blogs