bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติโดยใช้เลเซอร์

Photorefractive Keratectomy (PRK) เป็นการผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์วิธีแรกเพื่อแก้ไขภาวะสายตาสั้น สายตาเอียงและสายตายาวโดยใช้เลเซอร์ วิธีการรักษาเริ่มจากการลอกกระจกตาที่อยู่ด้านนอกสุด จากนั้นใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับความโค้งของกระจกตา วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบางหรือบุคลากรบางอาชีพ เช่น ทหาร นักบิน เป็นต้น

ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อการแก้ไขปัญหาสายตาโดยไม่ต้องพึ่งแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ การตัดสินใจเลือกวิธีนี้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและกิจกรรมประจำวันของแต่ละท่าน รวมถึงค่าสายตาของผู้ป่วย

 
  • มีสุขภาพตาที่ดี
  • มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • ค่าสายตาคงที่
  • ไม่มีโรคทางตาชนิดร้ายแรง เช่น โรคกระจกตาโค้งผิดรูปขั้นรุนแรง ตาแห้งอย่างรุนแรง โรคต้อหินที่ควบคุมไม่ได้ โรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ไม่มีโรคที่แพร่ทั้งระบบของร่างกายชนิดร้ายแรง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคของหลอดเลือดและคอลลาเจน โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  • ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์
  • ไม่มีประวัติการเกิดผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์
  • ไม่มีข้อจำกัดทางเพศ ยกเว้นสตรีในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีความคาดหวังต่อผลการรักษาบนพื้นฐานของความเป็นจริง
  • มีความเข้าใจถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  1. งดใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มอย่างน้อย 3 วัน และคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอย่างน้อย 7 วัน
  2. ไม่ควรใช้สายตามากเกินไปก่อนทำผ่าตัด เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะตาแห้ง
  3. งดแต่งหน้า เขียนขอบตา ใส่น้ำหอม ใส่น้ำมันหรือเจลที่ผม
  4. ควรล้างหน้าและสระผมมาก่อนผ่าตัด 1 วันหรือในเช้าวันผ่าตัด
  1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก อาจมีอาการชักขึ้นมาในระหว่างเลเซอร์ได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลให้ทราบถึงโรคประจำตัว เพื่อเตรียมการป้องกันที่เหมาะสม
  2. ห้ามกลอกตาขณะทำการรักษาด้วยแสงเลเซอร์อย่างฉับพลัน เนื่องจากอาจทำให้แพทย์รักษาได้ไม่ตรงบริเวณที่ต้องการซึ่งส่งผลต่อการแก้ไขสายตา ดังนั้นผู้ป่วยควรปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้น
  • อาการปวดและรู้สึกไม่สบายในช่วง 72-96 ชั่วโมงแรก
  • มีความรู้สึกว่ามีเศษอะไรอยู่ในตา
  • ภาพมัว ภาพซ้อน ไวต่อแสง และน้ำตาไหล
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
  • การสูญเสียความคมชัดของกระจกตา แต่จะค่อยๆ หายไปเองตามเวลา
  • มองเห็นแสงจ้าคล้ายกับมีวงรัศมีรอบดวงไฟหรือปัญหากับสายตาเมื่อมีแสงสลัว ซึ่งอาจรบกวนความสามารถในการขับรถในเวลากลางคืน ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีรูม่านตาขนาดใหญ่ หรือต้องมีการปรับสายตามากกว่าปกติ สำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ภาวะนี้เป็นภาวะชั่วคราวที่จะค่อยๆ หายไปเอง หรือเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตาในเวลากลางคืนหรือใช้ยาหยอดตา อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจเป็นภาวะถาวรสำหรับผู้ป่วยบางท่าน แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้ป่วยท่านใดจะประสบภาวะเหล่านี้หลังการผ่าตัดแล้ว
  • การสูญเสียความสามารถในการมองเห็น สายตาแย่ลงแม้จะใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ช่วยก็ตาม
  • ระดับความดันภายในตา (intraocular pressure: IOP) สูงขึ้น ความกดดันนี้เกิดจากยาที่ผู้ป่วยได้รับหลังการผ่าตัดแล้ว ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับยา
  • การติดเชื้ออย่างอ่อนหรือรุนแรง เชื้อที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะและมักไม่ทำให้เกิดการสูญเสียสายตาแต่อย่างใด ส่วนการติดเชื้อรุนแรง แม้ได้รับการรักษาแล้วก็ตามอาจทำให้เกิดแผลเป็นถาวรและสูญเสียสายตาถึงกับต้องผ่าตัดเลเซอร์ใหม่ หรือถ้ารุนแรงมากอาจต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตาใหม่
แก้ไขล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs