bih.button.backtotop.text

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไต หลอดเลือดตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจ แต่ความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่าน เนื่องจากไม่มีอาการเตือน ดังนั้นการจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาที่เหมาะสม

การจำแนกความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิต

Systolic

 

Diastolic

คำแนะนำ

เหมาะสม

<120

และ

<80

ตรวจเช็กความดันโลหิตสม่ำเสมอ

เริ่มมีความดันโลหิตสูง

120-139

และ/หรือ

80-89

ตรวจเช็กความดันโลหิตสม่ำเสมอ

ความดันโลหิตสูง

140-159

และ/หรือ

90-99

ควรพบแพทย์

สูงมากและเริ่มอันตราย

160-179

และ/หรือ

100-109

ควรพบแพทย์

ระดับอันตรายมาก

>180

และ/หรือ

>110

ควรพบแพทย์โดยด่วน

  • เจ็บหน้าอกรุนแรง
  • ใจสั่น
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • ปวดศีรษะเฉียบพลัน อาจมีอาเจียนร่วม
  • แขนขาซีกหนึ่งซีกใดอ่อนแรง แม้จะเป็นเวลาอันสั้นและหายเอง
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็นและอาจกลับเป็นปกติ
  1. น้ำหนัก
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเป้าหมาย
  1. อาหารบำบัดความดันโลหิตสูง
  • ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ บริโภคไขมันให้น้อยลง จำกัดปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • รับประทานผักและผลไม้เพิ่มในทุกมื้ออาหาร (เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหารให้มีปริมาณ 25-35 กรัมต่อวัน)
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เพื่อจำกัดปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม (เท่ากับเกลือ 1ช้อนชา หรือน้ำปลา/ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน) หากสามารถจำกัดโซเดียมไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น
  • ดื่มนมไขมันต่ำเป็นประจำ เพื่อให้ได้แคลเซียมในปริมาณ 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน (นม 2 แก้วต่อวัน)
  • การบริโภคอาหารหมวดข้าว แป้ง เน้นเป็นข้าวกล้อง ขนมปังสีน้ำตาล โดยจำกัดปริมาณ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานถั่วเมล็ดแห้งเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม
  1. การออกกำลังกาย
  • ควรอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์เพื่อประเมินสภาพของร่างกาย โรคแทรกซ้อน การเฝ้าติดตามผลการออกกำลัง รวมถึงให้ผู้ป่วยเรียนรู้อาการเตือนต่างๆ หากไม่มีความเสี่ยงทีมแพทย์จะให้ออกกำลังกายที่บ้าน และต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เน้นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา หรือลำตัว และมีการทำกิจกรรมนั้นซ้ำๆ เป็นจังหวะในช่วงเวลาหนึ่งอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกาย (physical fitness) เช่น การเดิน การวิ่ง ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก เป็นต้น
  • ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ 5-7 วันต่อสัปดาห์ ควรใช้เวลาออกกำลังกาย 30-60 นาที และถ้าจำเป็นต้องหยุดออกกำลังกายไปเป็นเวลานาน เมื่อเริ่มออกกำลังกายใหม่ต้องค่อยๆ ปรับเพิ่มการออกกำลังกาย ไม่หักโหมออกกำลังกายหนักทันที
 
อาการที่ควรพบแพทย์และไม่ควรละเลยขณะออกกำลังกาย
  • เหนื่อยง่าย เมื่อยล้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • ชีพจรเต้นช้าไป เร็วไป หรือเต้นผิดปกติ
  • มีอาการรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บหน้าอกด้านซ้าย
ใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิตเพื่อควบคุมความดันให้เข้าสู่เป้าหมาย
 
หลักการใช้ยาในการควบคุมความดันโลหิตสูง
  • ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและเป็นช่วงเวลาเดียวกัน
  • ห้ามหยุดยาลดความดันเองเพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการหยุดยา เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน
  • ไม่ควรลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงหรือต่ำได้
  • ไม่ควรลืมรับประทานยา
  • กรณีรับประทานยาวันละครั้งแล้วลืมรับประทานยา ให้รับประทานเมื่อนึกได้
  • กรณีรับประทานยาวันละสองครั้งแล้วลืมรับประทานยา ให้รับประทานเมื่อนึกได้ถ้ายังอยู่ในช่วงเช้า แต่ถ้าใกล้มื้อยาถัดไป ให้รับประทานยามื้อถัดไปโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าของที่รับประทาน
  • การควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ใช่เฉพาะใช้ยาเพียงอย่างเดียว ต้องร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมอื่นๆ เพราะอาจทำให้ผลในการควบคุมความดันไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน
  • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
 
การสูบบุหรี่
ควรหยุดสูบบุหรี่
 
การดื่มแอลกอฮอล์
ควบคุมปริมาณเครื่องดื่ม โดยงดหรือจำกัดการดื่มสุราในแต่ละวันไม่เกิน 60 มิลลิลิตร หรือไวน์ไม่เกิน 240 มิลลิลิตร หรือเบียร์ไม่เกิน 720 มิลลิลิตร (2 กระป๋อง) สำหรับผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงควรลดปริมาณลงอีกครึ่งหนึ่ง
 
ตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงอื่น เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

ควบคุมและรักษาโรคประจำตัวอื่นๆ โดยเฉพาะเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อย่างเข้มงวด
 
ความเครียด
  • เรียนรู้วิธีการผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หาเวลาว่างให้ตัวเองบ้างในแต่ละวัน 
เป้าหมายระยะสั้น
  • ควบคุมความดันให้น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ที่ไม่มีภาวะโรคร่วม เช่น เบาหวาน หรือไตวายเรื้อรัง
  • ควบคุมความดันให้น้อยกว่า 140/80 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไตวายเรื้อรัง
เป้าหมายระยะยาว
  • ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แก้ไขล่าสุด: 29 มกราคม 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 22 คน

Related Health Blogs