bih.button.backtotop.text

โรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดงในร่างกาย รวมไปถึงหลอดเลือดหัวใจ Coronary Arteries ซึ่งมีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย และยังส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง ผิวหนัง และเยื่อบุในปาก จมูก และลำคอ มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า  5 ปี สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นโรคไม่ติดต่อ และจากงานวิจัยในปัจจุบันชี้ว่าอาจเกิดได้จากทั้งไวรัส แบคทีเรีย ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

อาการของโรคคาวาซากิ
อาการของโรคคาวาซากิแบ่งออกได้เป็น  3 ระยะ คือ

ระยะแรก
- ไข้สูงถึง 39 องศาเซลเซียส นานเกินกว่า 3 วัน
- ตาแดงทั้งสองข้าง โดยไม่มีขี้ตา
- ผื่นช่วงกลางลำตัวและอวัยวะสืบพันธุ์
- ปากแดง แห้งแตก ลิ้นบวม หรือที่เรียกว่า Strawberry tongue
- ผิวหนังบวมแดง โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
- ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณลำคอ

ระยะที่สอง
- ผิวหนังบริเวณเมือและเท้าลอกออกเป็นแผ่น
- ปวดตามข้อ
- ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเหลว

ระยะที่สาม
เป็นระยะที่อาการค่อยๆดีขึ้น หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ระยะนี้อาจนานถึง 8 สัปดาห์
 
โรคคาวาซากิเป็นโรคที่รักษาหายได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายได้โดยไม่มีการเจ็บป่วยรุนแรง แต่สามารถพบภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การอักเสบของหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยการรักษาในระยะแรก เพื่อมุ่งเน้นที่การลดไข้และลดการอักเสบ เพื่อลดภาวะแรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจได้ โดยยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่
  • Immunoglobulin ให้ทางหลอดเลือด เป็นยาที่เลือกใช้ในการรักษาลำดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับหัวใจ
  • Aspirin ขนาดสูง เพื่อลดการอักเสบ อาการปวด อาการบวมของข้อ และลดไข้

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะตอบสนองได้ดีต่อการรักษาดังกล่าว ในระยะต่อมา ควรมีการติดตามอาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือดกับแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจอีก 2-3 เดือน โดยตรวจวินิจฉัยด้วยการทำ echocardiogram และรักษาตามลักษณะอาการทางโรคหัวใจที่พบ
 
แก้ไขล่าสุด: 26 มกราคม 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs