bih.button.backtotop.text

หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด

หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดเป็นปัญหาการบาดเจ็บของข้อเข่าที่พบได้บ่อยมาก หัวเข่าแต่ละข้างจะมีแผ่นกระดูกอ่อนรูปพระจันทร์เสี้ยวอยู่ 2 ชิ้น ซึ่งมีหน้าที่ช่วยรองรับและลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขา (femur) และกระดูกหน้าแข้ง (tibia) หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดได้เมื่อข้อเข่าเกิดการบิดหรือหมุนอย่างกะทันหัน หรือรุนแรง ซึ่งพบได้บ่อยในการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา  นอกจากนี้การฉีกขาดยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บในชีวิตประจำวัน เช่นการย่อตัวเพื่อคุกเข่า หรือนั่งยองๆ  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้นและมีความยืดหยุ่นของหมอนรองข้อเข่าลดลง   ในภาพรวมพบว่า 90-95% ของปัญหาหมอนรองข้อเข่าฉีกขาดมักมีความเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นข้อเข่าพร้อมๆ กัน เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL) 

อาการ
คุณอาจมีอาการปวด บวม ตึง และความรู้สึกว่าเข่าล็อกขยับไม่ได้หรือเข่าทรุดตัว  ส่วนมากมีอาการเจ็บปวดขณะเดินลงน้ำหนัก  อาการอาจจะเป็นมากน้อยแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการฉีกขาด
การวินิจฉัยหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด ทำได้โดยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามการตรวจทางรังสีแม่เหล็ก MRI สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้เป็นอย่างดี
การรักษาเบื้องต้นจะเริ่มจากการรักษาแบบประคับประคอง การพักใช้งานข้อเข่าให้น้อยลงและหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก ในรายที่มีการฉีกขาดชัดเจน แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าเพื่อเย็บซ่อมแซมหมอนรองข้อเข่า  เนื่องจากพบว่าหมอนรองข้อเข่าเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่ไม่มีระบบหลอดเลือดและระบบเส้นประสาทมาเลี้ยง ทำให้การซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาตินั้นได้ผลไม่ดีนัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมให้มีความมั่นคงและเรียบ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกอ่อนผิวข้อที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับหมอนรองข้อเข่าเกิดความเสียหายต่อเนื่องกัน  ในกรณีที่พบว่ามีการฉีกขาดของหมอนรองข้อเข่าเกิดร่วมกับการฉีกขาดของเส้นเอ็น  มักจะต้องรักษาไปพร้อมกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บไปสู่ส่วนอื่นๆ ของข้อเข่า
แก้ไขล่าสุด: 07 มีนาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs