bih.button.backtotop.text

ภาวะวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง)

ภาวะวัยหมดประจำเดือน หมายถึง ช่วงเวลาที่สตรีไม่มีประจำเดือนอีกต่อไปเมื่อรังไข่หยุดทำการผลิตไข่ วัยหมดประจำเดือนจะสมบูรณ์เมื่อประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม วัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นได้ระหว่างอายุ
45-55 ปี เฉลี่ยที่ 51 ปี

สาเหตุ
เกิดจากภาวะที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนน้อยลงจนหยุดทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน กรณีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด (อายุน้อยกว่า 40 ปี) อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
  1. ประวัติคนในครอบครัวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว
  2. โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง ความผิดปกติของโครโมโซม X
  3. การรักษาพยาบาล (การผ่าตัดเชิงกราน การผ่าตัดเอารังไข่ออก การใช้เคมีบำบัดหรือการใช้รังสีรักษาทางเชิงกราน) การใช้ยาที่มีผลทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
  4. การสูบบุหรี่
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ เนื่องจากภาวะวัยหมดประจำเดือนเป็นอาการทางธรรมชาติ
  • ประจำเดือนมาห่างออกและไม่สม่ำเสมอทุกรอบเดือน
  • ร้อนวูบวาบโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืน บางครั้งมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ
  • มีความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์เร็ว รู้สึกวิตกกังวล หดหู่ใจ ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งกดดันในชีวิตประจำวันลดลง ไม่มีสมาธิ มีอาการหลงลืม
  • นอนหลับยาก แต่ตื่นเช้า
  • ผิวหนังร่างกายแห้งและบางลง บางครั้งมีอาการคัน เกิดผื่นแพ้ง่าย เส้นผมหยาบแห้ง หลุดร่วงง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางาม
  • รู้สึกช่องคลอดแห้งและรู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ หรือมีปัสสาวะเล็ดราด
  • ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ อ่อนเพลีย
  1. การซักประวัติ สอบถามอาการที่ผ่านมา
  2. ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน
  3. ตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูก
  1. การให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดอาการร้อนวูบวาบ รู้สึกระคายเคือง
  2. การให้ยารักษาตามอาการหากมีอาการไม่สุขสบายมาก เช่น ให้ยาแก้ปวดถ้าผู้ป่วยปวดศีรษะหรือปวดข้อ หรือให้ยาทางจิตประสาทหากมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นต้น
  3. การปฏิบัติตัวเพื่อลดการเกิดโรคหัวใจและโรคกระดูกพรุน
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อย ลดอาหารที่มีแป้งและไขมันสูง
  • จำกัดปริมาณคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ รำมวยจีน เต้นรำ เดินหรือวิ่งเบาๆ เพื่อลดการกระแทกของข้อเข่า
  • จัดการกับความเครียด
  • ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นต้น
การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยให้ร่างกายเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนได้ช้าลง
แก้ไขล่าสุด: 26 มิถุนายน 2567

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.28 of 10, จากจำนวนคนโหวต 43 คน

Related Health Blogs