bih.button.backtotop.text

ฮอร์โมน กับวัย 40+

วัย 40+ เป็นช่วงชีวิตที่ผู้หญิงเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จและความสมบูรณ์ในทุกๆด้าน ซึ่งมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจตามธรรมชาติ หากเข้าใจและรับมือกับวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างเหมาะสม วัยทองไม่จำเป็นต้องเป็นวิกฤตวัยกลางคนเสมอไป
 

ก้าวสู่วัย 40 ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน (Perimenopause)


ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน (Perimenopause) เป็นช่วงเวลาก่อนวัยหมดประจำเดือน (Menopause) โดยจะกินระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่งฮอร์โมนเริ่มขาดความสมดุล ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนมีการแปรปรวน ส่วนใหญ่เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปและระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไป ทำให้เกิดอาการทางร่างกายและจิตใจได้ ดังนี้

อาการทางร่างกาย
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง เจ็บปวดขณะร่วมเพศ
  • มีอาการร้อนวูบวาบ  เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • รู้สึกหนาวและร้อนผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ผิวหนังมีริ้วรอย แห้ง ผมแห้ง
  • มีอาการคันตามผิวหนัง
  • ผมร่วง มีขนตามร่างกายหรือใบหน้าเพิ่มมากขึ้น
  • กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ถ่ายปัสสาวะบ่อย ไอจามมีปัสสาวะเล็ด
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
  • ปวดหลัง ปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ ร่างกาย
  • ใจสั่น
  • ร่างกายบวมน้ำ
  • เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน

อาการทางจิตใจ
สัญญาณแรกๆคือการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนมากขึ้นหรือน้อยลง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีประจำเดือนติดกันหรือห่างกันมาก ภาวะก่อนวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป ทั้งความรุนแรง ระยะเวลาและความถี่ของอาการ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญไม่ช้าก็เร็ว

วัย 45 – 55 วัยหมดประจำเดือน (Menopause)

ผู้หญิงจะถึงวัยหมดประจำเดือนเมื่อมีอายุ 45 – 55 ปี โดยเฉลี่ยหญิงไทยหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 50 ปี วัยหมดประจำเดือนหมายถึง ช่วงเวลาที่รอบประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี หลังจากครบ 1 ปีแล้วจะเป็นระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน (postmenopause) การตรวจระดับ follicle stimulating hormone (FSH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองจะช่วยให้คุณทราบว่าคุณถึงวัยหมดประจำเดือนแล้วหรือยัง
 

วัยหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)

หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว คุณอาจรู้สึกว่ามีพลังงานในตัวเพิ่มขึ้น แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของคุณจะอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน คุณไม่สามารถตั้งครรภ์และไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป นอกจากนี้คุณยังมีความเสี่ยงที่จะมีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
   

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์

เพื่อลดภาวะอาการที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือนและป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน คุณควรพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงการตรวจร่างกาย เช่น การตรวจระดับฮอร์โมนและตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นต้น

ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ออกแบบแพ็กเกจสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับผู้หญิงทุกช่วงวัย ตั้งแต่แพ็กเกจดูแลสุขภาพสำหรับผู้หญิงวัยก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปจนถึงผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว โดยเรามีแพ็กเกจที่ครอบคลุมถึง 4 แพ็กเกจด้วยกัน ดังนี้
   
  • แพ็กเกจ Beginning Menopause สำหรับผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปที่ใส่ใจดูแลสุขภาพเชิงป้องกันหรือยังไม่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โปรแกรมการตรวจรวมถึง ตรวจระดับฮอร์โมน 2 รายการ ความหนาแน่นของมวลกระดูก ตรวจระดับแคลเซียม วิตามินดีและแมกนีเซียม ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมและมีการให้คำแนะนำโดยนักโภชนาการ
 
  • แพ็กเกจ Standard Menopause เป็นแพ็กเกจมาตรฐานสำหรับผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โปรแกรมการตรวจรวมถึง ตรวจระดับฮอร์โมน 4 รายการ ความหนาแน่นของมวลกระดูก ตรวจระดับแคลเซียม วิตามินดีและแมกนีเซียม ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมและมีการให้คำแนะนำโดยนักโภชนาการ
 
  • แพ็กเกจ Optimal Menopause สำหรับผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมน โปรแกรมการตรวจรวมถึง ตรวจระดับฮอร์โมน 7 รายการ ความหนาแน่นของมวลกระดูก ตรวจระดับแคลเซียม วิตามินดีและแมกนีเซียม ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมและมีการให้คำแนะนำโดยนักโภชนาการ
 
เรียบเรียงโดย ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา, เวชศาสตร์การเจริญพันธ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์




 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs