You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
สุขภาพวัยทอง
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงหมายถึง ช่วงเวลาที่รังไข่หยุดการผลิตไข่ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป วัยหมดประจำเดือนจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี และจะสมบูรณ์เมื่อประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวัยทองเพื่อให้สามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้สตรีวัยทองสามารถดูแลตนเองและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดอาการต่างๆที่เกิดจากวัยทอง เช่น ปรับพฤติกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนและการรักษาด้วยยา
สตรีวัยทองที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยสามารถที่จะดูแลสุขภาพของตนเองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย อนามัยเจริญพันธุ์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
อาหาร เลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียมสูง ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำให้เพียงพอ
อารมณ์ ควบคุมอารมณ์และฝึกการมองโลกในแง่บวก เพื่อให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสอยู่เสมอ
ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
อนามัยเจริญพันธุ์ ตรวจสุขภาพประจำปีและเข้ารับการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นประจำ
อนามัยสิ่งแวดล้อม พักอาศัยและทำงานในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและสุขอนามัยดี
สตรีวัยทองแต่ละคนมีอาการวัยทองที่มากน้อยแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการมาก จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการวัยทองอาจแบ่งออกได้เป็นอาการทางร่างกายและอาการทางจิตใจ
อาการทางจิตใจที่พบได้บ่อย คือ อาการซึมเศร้า หลงลืมง่าย สมาธิสั้น และหงุดหงิดง่าย พบว่าอาการซึมเศร้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมีผลต่อการอยู่ร่วมในสังคมสูง ในกรณีที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์
Related Treatments
Doctors Related
Related Centers
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
วัยทองเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นการปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้สามารถดูแลตนเองและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
การให้ฮอร์โมนทดแทนวัยทอง
วัย 40+ เป็นช่วงชีวิตที่ผู้หญิงเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จและความสมบูรณ์ในทุกๆด้าน ซึ่งมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจตามธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงวัยทอง หลายคนมักนึกถึง ความหงุดหงิด ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ต่างๆ แต่รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมถึงเป็น มาร่วมหาคำตอบกันได้ที่นี่เลยค่ะ
วัยทอง