bih.button.backtotop.text

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยทั่วไปส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มีส่วนน้อยที่อาจเกิดขึ้นจากโรคบางอย่าง เช่น โรคสมองพิการ (cerebral palsy) หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (muscular dystrophy) การบาดเจ็บหรือการติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ในเด็กบางรายกระดูกสันหลังอาจผิดรูปมากขึ้นเมื่อโตสู่วัยรุ่น 

โรคกระดูกสันหลังคด คืออะไร
โรคกระดูกสันหลังคด คืออะไร
 
โดยทั่วไปแล้วกระดูกสันหลังของคนเราจะตรง แต่ผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคกระดูกสันหลังคดจะมีแนวกระดูกที่โค้งช่วงเดียวหรือเป็นรูปตัว “C” หรือมีแนวกระดูกโค้งสองช่วงหรือเป็นรูปตัว “S” โดยจะคดไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้ 
โรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุหรือเรียกว่า Idiopathic scoliosis ผู้ป่วยบางคนอาจมีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามช่วงอายุที่มีอาการเกิดขึ้น
 
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคด
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile idiopathic scoliosis) เด็กที่เกิดอาการโรคกระดูกสันหลังคดก่อนอายุ 3 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile idiopathic scoliosis (JIS)) เด็กพัฒนาอาการของโรคเมื่อมีอายุระหว่าง 4 – 10 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis (AIS)) ช่วงเด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่นหรือมีอายุระหว่าง 10 – 18 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบโรคกระดูกสันหลังคดได้มากที่สุด
นอกจากนี้โรคกระดูกสันหลังคดยังอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) โดยอาจเกิดได้จากความบกพร่องในการสร้างของกระดูกไขสันหลัง
  • กระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional scoliosis) อาจเกิดจากความผิดปกติตรงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น การบาดเจ็บ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อหดเกร็ง การทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สมดุลซ้ำ ๆ กันเป็นเวลาหลายปี 
  • กระดูกสันหลังคดจากโรคประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) พบในเด็กที่มีความผิดปกติของไขสันหลัง สมองและระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่สามารถรักษาสมดุลของลำตัวและกระดูกสันหลังได้ โรคกระดูกสันหลังคดชนิดนี้มักรุนแรงมากขึ้นเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ 
  • กระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative lumbar scoliosis) เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากการใช้งานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
  • เอวไม่เสมอกัน
  • สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน 
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น กระดูกสันหลังนอกจากจะโค้งไปทางด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ยังอาจหมุนหรือบิดตัว ทำให้ซี่โครงด้านหนึ่งยื่นออกมามากกว่าอีกด้านหนึ่ง เห็นเป็นก้อนนูนทางด้านหลังได้
อาการของโรคกระดูกสันหลังคด
 
แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยและตรวจดูความคดของกระดูกสันหลังทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้าง โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยโน้มตัวไปข้างหน้า พยายามใช้นิ้วมือแตะที่ปลายเท้าเพื่อดูว่าหลังสองข้างของผู้ป่วยสูงต่ำเท่ากันหรือไม่ รวมถึงดูระดับความเสมอกันของไหล่และสะโพก และลักษณะความคดของกระดูกสันหลัง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเอ็กซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของกระดูกสันหลังและดูว่าอาการที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางหรือไม่และอาจพิจารณาให้ตรวจ MRI หากสงสัยว่ามีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย
ความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกสันหลังประเภทที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้
  • อายุ สัญญาณและอาการของโรคกระดูกสันหลังคดมักเกิดขึ้นในช่วงเด็กกำลังเติบโตก่อนเข้าวัยรุ่น
  • เพศ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกสันหลังคดได้เท่า ๆ กัน แต่เด็กผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคที่รุนแรงมากกว่า
  • ประวัติครอบครัว โรคกระดูกสันหลังคดอาจเกิดจากพันธุกรรมได้ แต่เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ 
ถึงแม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก แต่อาจมีอาการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกสันหลังคดได้ เช่น
  • ปอดและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่    เกิดเฉพาะในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดรุนแรง กระดูกสันหลังผิดรูปมาก กระดูกซี่โครงอาจผิดรูปตามไปด้วย ทำให้ปอดและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับหลัง ผู้ใหญ่ที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดตั้งแต่เด็กมีแนวโน้มว่าจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังมากกว่าคนปกติทั่วไป
  • ปัญหาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ เมื่ออาการของโรคแย่ลง สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าไหล่และสะโพกไม่เท่ากัน ซี่โครงยื่นออกมาผิดปกติ เอวและลำตัวเบี้ยว ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตนเอง
การรักษาทำได้หลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับผลการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยทั่วไปทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
  • การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง เหมาะสมกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังยังคงมีการเจริญเติบโตเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูดคดงอยิ่งขึ้น โดยอาจให้ผู้ป่วยใส่ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาออกกำลังหรืออาบน้ำ หรือใส่เฉพาะเวลานอน มักใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีความคดอยู่ระหว่าง 25 – 40 องศา ในบางกรณี สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่พบสาเหตุ กระดูกสันหลังอาจคดเพิ่มขึ้นถึง 45 – 50 องศาถึงแม้จะใส่เสื้อเกราะดัดหลังแล้วก็ตาม ในกรณีนี้แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด
  • การผ่าตัด  แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค หรือผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีกระดูกสันหลังคดอย่างรุนแรงตั้งแต่แรก และผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือโรคกระดูกสันหลังคดมีผลกระทบต่อระบบประสาท
วิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด
 
แก้ไขล่าสุด: 08 ตุลาคม 2564

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด
ด้วยหุ่นยนต์นำวิถี

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.25 of 10, จากจำนวนคนโหวต 24 คน

Related Health Blogs