bih.button.backtotop.text

มะเร็งอัณฑะ

โรคมะเร็งอัณฑะ ยังจัดว่ามีความรุนแรงต่ำ และสามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็ง อายุ และสุขภาพผู้ป่วย มีโอกาสเป็นได้ทั้งด้านซ้ายและขวา หรือทั้ง 2 ด้านเท่าๆ กัน แต่ส่วนใหญ่มักเกิดเพียงด้านเดียว และพบบ่อยในช่วงอายุ 15 – 35 ปี

อาการ
  • คลำพบก้อนเนื้อในอัณฑะ อาจมีหรือไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย
  • ลูกอัณฑะบวมหรือใหญ่ขึ้น
  • ปวดหน่วงบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ หรือท้องน้อย
  • อัณฑะบวมคล้ายมีน้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกปวดขัด หรือรู้สึกไม่สบายภายในอัณฑะ
  • รู้สึกเหมือนมีน้ำสะสมภายในถุงอัณฑะ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • หน้าอกโตขึ้นหรือรู้สึกเจ็บปวดบริเวณหน้าอก เนื่องจากมะเร็งอัณฑะบางชนิดส่งผลต่อฮอร์โมนที่มีส่วนกระตุ้นพัฒนาการของหน้าอก
หาก มะเร็งอัณฑะ มีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้
  • ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดท้อง
  • ปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง
  • เจ็บแปลบ ชา หรืออ่อนแรงบริเวณต้นขา
  • หายใจลำบาก ไอ และแน่นหน้าอก
  • การตรวจอัณฑะด้วยตนเองเดือนละครั้ง เมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะได้ตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะในผู้มีปัจจัยเสี่ยง การตรวจอัณฑะที่ดีที่สุดควรทำเมื่อถุงอัณฑะอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เช่นหลังจากการอาบน้ำอุ่น
  • ขณะตรวจควรจับองคชาติออกไป จากนั้นค่อยๆ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆ ไล่คลำบริเวณอัณฑะทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
อย่างไรก็ตามถือเป็นเรื่องปกติ หากพบว่าอัณฑะทั้ง 2 ข้างมีขนาดต่างกัน อยู่ในระดับไม่เท่ากัน และอาจพบรอยนูนเล็กๆ ที่ด้านนอกของอัณฑะส่วนบนและส่วนกลาง
 
ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดไม่ได้ มะเร็งอัณฑะก็เช่นกัน แต่การศึกษาพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
  • มีภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง ซึ่งเป็นภาวะที่ลูกอัณฑะหนึ่งหรือสองข้างไม่เข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะซึ่งมักเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก่อนคลอด มีโอกาสเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้นประมาณ 10 -40 %
  • โครโมโซม (Chromosome) คู่ที่ 1 หรือคู่ที่ 12 ผิดปกติ
  • ผู้ที่มีอัณฑะฝ่อ
  • บุคคลที่พบ Carcinoma in Situ ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติและอาจก่อตัวเป็นมะเร็งได้
  • เคยบาดเจ็บหรือมีการอักเสบบริเวณอัณฑะ จากสาเหตุต่าง ๆ
  • ภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
  • ผู้ชายที่เป็นหมันแต่กำเนิด มีโอกาสเกิดมะเร็งอัณฑะสูงกว่าปกติ
  • ซักประวัติ และอาการ
  • ตรวจร่างกาย โดยคลำอัณฑะทั้ง 2 ข้าง
  • อัลตราซาวด์ โดยการใช้คลื่นเสียงจำลองภาพถุงอัณฑะและลูกอัณฑะ ทำให้แพทย์ทราบถึงลักษณะโดยทั่วไปและตำแหน่งของก้อนที่เกิดขึ้น
  • การตรวจเลือด เพื่อวัดระดับสารบ่งชี้มะเร็ง แม้สารบ่งชี้มะเร็งสามารถปรากฏในเลือดเป็นปกติ แต่ระดับของสารบ่งชี้มะเร็งที่เปลี่ยนไปอาจบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
  • ผ่าตัดอัณฑะ เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเมื่อวินิจฉัยแล้วว่าก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นมีโอกาสเป็นมะเร็ง เพื่อนำอัณฑะมาตรวจสอบและวินิจฉัยประเภทของมะเร็งอัณฑะ
เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นคือมะเร็ง แพทย์จะตรวจสอบอีกครั้งเพื่อบ่งชี้ระยะของมะเร็งที่เกิดขึ้น และเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่ โดยใช้วิธี ดังนี้
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan นำมาใช้เพื่อตรวจสอบว่าเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
  • การตรวจเลือด นำมาใช้เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อผ่าตัดอัณฑะออกแล้วยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกายหรือไม่ โดยการตรวจค่าของสารบ่งชี้มะเร็งในเลือด หากแพทย์ผ่าก้อนมะเร็งออกมาได้ ค่าของสารบ่งชี้มะเร็งจะค่อย ๆ ลดลง แต่หากยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย สารบ่งชี้มะเร็งอาจจะไม่มีค่าลดลงหรือมีโอกาสที่จะมีค่าสูงขึ้น
โรคมะเร็งอัณฑะ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนรักษาได้อย่างถูกต้องและได้ผลดีที่สุด ดังนี้ได้แก่

ระยะที่ 1 มะเร็งเกิดขึ้นเฉพาะในอัณฑะ ยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีโอกาสรักษาหายได้สูงถึง 90 – 100%
ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง โอกาสรักษาหายได้ ประมาณ 80 – 90%
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง รวมทั้งมีสารมะเร็งปริมาณสูงในเลือด ซึ่งมักแพร่กระจายมักเข้าสู่สมองและปอด ยังมีโอกาสรักษาหายประมาณ 50 – 70%
 
  • การผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดเฉพาะอัณฑะข้างที่เป็นโรคเท่านั้น โดยแพทย์มีการประเมินเซลล์มะเร็งและระยะของโรค รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
  • รักษาด้วยรังสี อาจทำการฉายรังสีต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง ช่องอก หรือบริเวณที่มะเร็งแพร่กระจาย
  • เคมีบำบัด หลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้เคมีบำบัดต่อเนื่อง หรือทำพร้อมกับการรักษาด้วยรังสี
การรักษามะเร็งอัณฑะอาจมีผลข้างเคียง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รวมถึงในผู้สูงอายุ โดยมีผลข้างเคียง เช่น
  • จากการผ่าตัด อาจสูญเสียอัณฑะ แผลผ่าตัดติดเชื้อ หรือผลจากการดมยาสลบ
  • รักษาด้วยรังสี อาจมีผลข้างเคียงกับผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี
  • เคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งอัณฑะ
ผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะอาจมีอาการที่นอกเหนือจากอาการบ่งชี้มะเร็งอัณฑะ หากเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไป มักจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ถุงอัณฑะและปอด มีส่วนน้อยที่เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปยังตับ สมอง และกระดูก โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะระยะลุกลามมีดังนี้
  • ปวดหลังช่วงล่าง หากมะเร็งลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณส่วนหลังของช่องท้อง
  • หายใจถี่ เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง หรือไอมีเลือดปน หากมะเร็งลุกลามไปยังปอด
  • เจ็บช่องท้อง หากมะเร็งลุกลามไปยังตับ
  • ปวดหัวหรือมีภาวะมึนงง หากมะเร็งลุกลามไปยังสมอง
ภายหลังเสร็จสิ้นการรักษามะเร็งอัณฑะ แพทย์จะนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาซึ่งอาจนานต่อเนื่องหลายปี เพื่อสังเกตว่ามีสัญญาณการกลับมาของมะเร็งหรือไม่ หากผู้ป่วยพบอาการที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ดังนี้
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เกินมตรฐานสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและมะเร็งได้ ตรวจสอบน้ำหนักตัวว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่โดยใช้ค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI
  • ออกกำลังกาย ซึ่งในที่นี้การออกกำลังกายอาจหมายถึงการทำกิจกรรมบางอย่างที่ได้ใช้กำลัง เช่น การทำงานบ้าน เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ รับประทานผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเลอรี่ต่ำ รับประทานน้ำตาลแต่น้อย รวมถึงการรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ การสูบบุหรี่และควันบุหรี่เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากควันบุหรี่จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกหลายชนิด
ด้วยปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันและตรวจคัดกรองมะเร็งอัณฑะตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเฝ้าสังเกตอัณฑะตนเอง หากพบก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs