bih.button.backtotop.text

มะเร็งช่องคลอด

โรคมะเร็งช่องคลอด เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้ยากโดยเริ่มต้นเป็นมะเร็งจากเซลล์ภายในช่องคลอด

จุดที่เริ่มเกิดมะเร็งขึ้น
  • มะเร็งที่เริ่มเกิดขึ้นในช่องคลอดเป็นแห่งแรกจะเรียกว่ามะเร็งช่องคลอดปฐมภูมิ (Primary vaginal cancer)
  • ส่วนมะเร็งที่เริ่มเป็นในส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปากมดลูก มดลูก หรือรังไข่แล้วเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังช่องคลอดเรียกว่าเป็น มะเร็งช่องคลอดทุติยภูมิ (Secondary vaginal cancer)
อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคมะเร็งช่องคลอด คือ

เลือดออกอย่างผิดปกติจากช่องคลอด ได้แก่:
  • มีเลือดออกในช่วงระหว่างรอบเดือน หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงวัยหมดประจำเดือน (Post-menopausal bleeding)
อาการอื่น ๆ นั้นได้แก่:
  • มีของเหลวกลิ่นเหม็นหรือคาวเลือดออกมาทางช่องคลอด
  • เกิดความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • เกิดความเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ
  • ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • พบเลือดปนในปัสสาวะของคุณ
  • อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • คันหรือพบก้อนเนื้อในบริเวณช่องคลอดของคุณ
ควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณโดยด่วน หากพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของช่วงรอบเดือน เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ

แม้ว่าจะมีอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นจากโรคมะเร็งช่องคลอดก็ตาม แต่ก็ควรได้รับการตรวจสอบหาสาเหตุให้ชัดเจนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการรักษาอย่างเหมาะสม
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งในช่องคลอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องคลอด ได้แก่
  • การติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • อายุที่มากขึ้น 7 คนจาก 10 คนที่ เป็นโรคมะเร็งช่องคลอดมีอายุเกิน 60 ปี แม้ว่าจะมีโรคมะเร็งช่องคลอดบางประเภทที่พบได้ยาก สามารถส่งผลกระทบต่อหญิงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้เช่นกัน
  • ประวัติเคยเป็นภาวะเซลล์เยื่อบุผิวช่องคลอดเจริญผิดปกติ (Vaginal intraepithelial neoplasia: VAIN) หรือภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical intraepithelial neoplasia: CIN) – เซลล์ที่ผิดปกติดังกล่าวในช่องคลอดหรือปากมดลูกอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
เนื่องจากโรคนี้มีความสัมพันธ์กับเชื้อไวรัส HPV ดังนั้น จึงสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องคลอดได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างป้องกันและปลอดภัย การฉีดวัคซีน HPV สามารถช่วยป้องกัน HPV 2 สายพันธุ์ ซึ่งสัมพันธ์กับสาเหตุในกรณีส่วนใหญ่ของมะเร็งช่องคลอดและมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน
 
  • การตรวจช่องคลอดทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายในเพื่อค้นหาก้อนเนื้อหรืออาการบวมที่ผิดปกติ
  • การส่องตรวจช่องคลอด (Colposcopy) - การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษชื่อว่าคอลโปสโคป (colposcope) ที่ทำหน้าที่เหมือนแว่นขยายเพื่อศึกษาลักษณะภายในช่องคลอดของคุณโดยละเอียด
หากสูตินรีแพทย์คาดว่าอาจมีเนื้อเยื่อที่ผิดปกติอยู่ในช่องคลอดของคุณ จะมีการผ่าตัดเพื่อตัดนำตัวอย่างเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ออกมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็ง กระบวนการนี้เรียกว่า การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)

หากผลการตัดตรวจชิ้นเนื้อบ่งชี้ว่า คุณเป็นมะเร็ง คุณอาจได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปตำแหน่งอื่นบ้างหรือไม่

การตรวจเหล่านี้อาจได้แก่ การตรวจภายในช่องคลอดอย่างละเอียดเพิ่มเติมซึ่งดำเนินการภายใต้การดมยาสลบภายในห้องผ่าตัด การถ่ายภาพรังสีเอกซ์ การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการทำซีที (CT scans) และการสแกนภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI)
 
  • ระยะ 1 - มะเร็งเพิ่งเริ่มเติบโตขึ้นในผนังช่องคลอด
  • ระยะ 2 - มะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปนอกช่องคลอดเข้าไปสู่เนื้อเยื่อรอบข้าง
  • ระยะ 3 - มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณ และอาจแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  • ระยะ 4a - มะเร็งได้แพร่กระจายไปไกลกว่าช่องคลอด และเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ตรง
  • ระยะ 4b - มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น ปอด
ระยะของโรคมะเร็งของคุณมีความสำคัญในการพิจารณาว่าการรักษาแบบใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด และเพื่อประเมินว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งดังกล่าวได้หายขาดหรือไม่ โดยทั่วไป ยิ่งระยะของโรคมะเร็งตอนได้รับการวินิจฉัยต่ำมากเท่าใด มะเร็งมีโอกาสหายขาดมากขึ้นเท่านั้น ถ้าการรักษาให้หายขาดไม่สามารถทำได้ ยังมีการรักษาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งได้ เรียกว่าการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
 
การรักษามะเร็งช่องคลอดขึ้นอยู่กับว่าส่วนใดของช่องคลอดของคุณที่ได้รับผลกระทบ และระยะแพร่กระจายของมะเร็งดังกล่าวรุนแรงเท่าใด

ทางเลือกการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งช่องคลอด ได้แก่:
  • การฉายรังสีรักษา - โดยใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • การผ่าตัด - เพื่อขจัดเซลล์มะเร็ง มีการผ่าตัด 4 ประเภทหลักที่ใช้ในการรักษามะเร็งช่องคลอด:
    • การตัดช่องคลอดบางส่วน (Partial vaginectomy) - การผ่าตัดเพื่อกำจัดส่วนบนของช่องคลอดออก
    • การตัดช่องคลอดแบบกว้าง (Radical vaginectomy) - การผ่าตัดเพื่อกำจัดช่องคลอดทั้งหมดและตัดต่อมน้ำเหลืองในกระดูกเชิงกรานทั้งหมดออก
    • การตัดช่องคลอดแบบกว้างและการผ่าตัดตัดมดลูกแบบกว้าง (Radical vaginectomy and hysterectomy) - การกำจัดทั้งส่วนช่องคลอด มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ และต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออกทั้งหมด
    • การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง (Pelvic Exenteration) - การผ่าตัดเพื่อกำจัดช่องคลอดและเนื้อเยื่อโดยรอบออกทั้งหมด รวมทั้งกระเพาะปัสสาวะและ / หรือลำไส้ตรง
  • เคมีบำบัด - ใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งมักใช้ร่วมกับรังสีรักษา
การรักษาเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและระยะยาว คุณควรปรึกษากับทีมดูแลโรคมะเร็งของคุณก่อนเริ่มการรักษา

โอกาสของการรักษามะเร็งช่องคลอดให้หายขาดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะของโรคมะเร็งขณะได้รับวินิจฉัย อายุ
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs