bih.button.backtotop.text

โรคไข้ซิกากับการตั้งครรภ์

โรคไข้ซิกา คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกาที่อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) แพร่เชื้อสู่มนุษย์โดยอาศัยพาหะที่สำคัญคือยุงลาย (Aedes) ที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี และไข้เหลือง

โรคซิกา

โรคไข้ซิกาพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2490 ที่ประเทศยูกันดาในลิง พบมีการติดต่อในคนตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 ในประเทศยูกันดา สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย องค์การอนามัยโลกรายงานการระบาดของโรคไข้ซิกา (Zika virus disease) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกาใน 67 ประเทศ ทั้งในพื้นที่ของทวีปแอฟริกา เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิกและอเมริกา และมีแนวโน้มการระบาดของโรคแพร่กระจายไปยังประเทศใหม่ๆ เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว นอกจากนั้นยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคยังมีกระจายอยู่ในหลายทวีปทั่วโลก

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิกามีโอกาสเสี่ยงสูงที่ทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (microcephaly) แคระแกร็น พัฒนาการช้า หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากนั้นเชื้อไวรัสซิกาสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาจากสารคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น นํ้าอสุจิ นํ้าลาย ปัสสาวะ นํ้าครํ่า รก นํ้านม และน้ำไขสันหลัง เป็นต้น

ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกาใช้เวลาประมาณ 3-12 วัน อาการของโรคคล้ายกับโรคที่เกิดจากอาร์โบไวรัส (Arbovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง และโรคไข้เลือดออก

หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อมีเพียง 1 ใน 4 คนเท่านั้นที่แสดงอาการ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน เช่น

สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะและสารคัดหลั่ง เช่น นํ้าลาย นํ้าครํ่า นํ้านม และน้ำไขสันหลัง ตามการวินิจฉัยแพทย์
โรคไข้ซิกายังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน ในหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลจากสูติแพทย์ร่วมกับอายุรแพทย์/
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โดยดูแลรักษาตามอาการของโรคเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย เช่น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • มีไข้ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้หรือยาบรรเทาอาการปวด แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้
  • ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ (fetal surveillance) เช่น
    • ตรวจอัลตราซาวนด์ดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ค้นหาความพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน (baseline) และความพิการแต่กำเนิดอื่นๆ
    • ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (non-stress test: NST)
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการทำความสะอาด ให้อากาศถ่ายเทปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เทน้ำทิ้งหรือครอบฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำ เช่น กระถางต้นไม้ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • ใช้ยากันยุงหรือยาทากันยุง
  • สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้
  • ปิดประตูหน้าต่าง ติดมุ้งลวด กางมุ้งหรืออยู่ในห้องปรับอากาศ
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์เสมอ
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปยังประเทศที่มีรายงานการระบาด โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ระบาด หากจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์
  • คู่นอนหรือคู่สมรสของหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาศัยหรือกลับจากพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อไวรัสซิกาควรงดเว้นจากกิจกรรมทางเพศอย่างน้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หรือควรมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เช่น สวมถุงยางอนามัย
  • คู่สมรสหรือหญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ซึ่งกลับมาจากพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อไวรัสซิกา ต้องรออย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่พบการติดเชื้อไวรัสซิกา และ 6 เดือนหากคู่นอนหรือคู่สมรสชายมีอาการ

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs