การวิ่งมาราธอนอาจดูเป็นเรื่องที่สนุกท้าทายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจที่คุณอาจไม่รู้ตัวจนกว่าจะลงแข่งขัน ดังนั้นทางที่ดีคือควรปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพหัวใจเสียก่อน ถึงแม้ภาวะหัวใจล้มเหลวจะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งระหว่างการวิ่งมาราธอนแต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคหัวใจมาก่อนหรือเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
โรคหัวใจแฝงเร้นที่อาจกำเริบระหว่างการแข่งขันกีฬาหนักๆ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (hypertrophic cardiomyopathy: HCM) มักเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่ายกายหนาตัว ทำให้ความสามารถในการสูบฉีดเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจลัมเหลวได้ สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Wolff-Parkinson-White Syndrome: WPW) เป็นโรคที่พบไม่บ่อยทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจากเส้นทางการนำไฟฟ้าส่วนเกินที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ซึ่งบางครั้งคนไข้ไม่มีอาการล่วงหน้าแต่หัวใจอาจเต้นผิดเร็วผิดจังหวะกะทันหันระหว่างการออกกำลังกายได้ โรคนี้สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และการวิ่งสายพาน (exercise stress test)
- ภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุแต่ปัจจุบันพบมากขึ้นในคนอายุน้อยเนื่องจากปัจจัยเสี่องอาทิ การสูบบุหรี่ ภาวะโรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไขมันสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งหากไม่คุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวให้ดีก็อาจจะทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบและมีภาวะอุดตันเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่นๆ เช่น CPVT (cathecolaminergic polymorphic ventricular tachycardia), LQTS (long QT syndrome), Brugada syndrome
ใครบ้างที่ควรตรวจ
หญิงและชายที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป แต่หากอายุน้อยกว่านั้นและมีประวัติครอบครัวหรืออาการที่สงสัยว่าเป็นโรคหัวใจเช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หน้ามืด เป็นลมควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งมาราธอนหรือกีฬาแข่งขันอื่นๆ
จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคหัวใจแอบแฝง
เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติและประเมินสุขภาพร่างกายอย่างละเอียดเพื่อแยกคนไข้ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ (low cardiovascular risk) และกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง (high cardiovascular risk) โดยการประเมินหลายๆด้าน เช่น โรคประจำตัว อายุ การนอนโรงพยาบาล ค่าเลือดเช่น ระดับไขมันในเลือดและระดับไตรกลีเซอไรด์ หากประเมินแล้วว่าคนไข้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ คนไข้ก็สามารถฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการวิ่งมาราธอนได้ แต่หากประเมินแล้วว่าคนไข้มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะตรวจร่างกายเพิ่มเติมดังนี้
เตรียมพร้อมร่างกายอย่างปลอดภัย
คุณสามารถเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการลงแข่งขันด้วยการสังเกตอาการของตัวเองขณะฝึกซ้อม เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก หอบ หายใจลำบากหรือเหนื่อยผิดปกติกว่าเดิม หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 06 มกราคม 2566