ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากการมีไขมันสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงแขนและขาเกิดการตีบตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงแขนและโดยเฉพาะขาไม่พอ ก่อให้เกิดอาการต่างๆตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับของการอุดตัน
อาการของภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันหลายคนไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย บางคนอาจมีอาการรุนแรง โดยสัญญาณและอาการของโรคมีได้ดังนี้
- ปวดเหมือนตะคริว ที่ขาและบั้นท้ายเวลาเดินและดีขึ้นเมื่อหยุดเดินสักพัก ผู้ป่วยประมาณ 40-50% มีอาการเช่นนี้ บางคนอาจรู้สึกปวดรุนแรงจนใช้ชีวิตประจำวันลำบาก
- ขาหรือแขนชาหรืออ่อนแรง
- รู้สึกเย็นที่ขาส่วนล่างหรือเท้า
- ผิวหนังที่ขาเป็นมันเงา
- ผิวหนังที่ขามีสีที่เปลี่ยนแปลงไป
- แผลที่นิ้วเท้า เท้าหรือขาที่ไม่หาย
- ขนบริเวณขาและเท้าร่วง
- เล็บเท้าเปราะ งอกช้า
- ขาชาหรืออ่อนแรง
- เสื่อมสมรรถนะทางเพศในเพศชาย
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน
ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันไม่ได้ทำให้เสียชีวิตในทันที แต่หากปล่อยทิ้งไว้ การอุดตันของเส้นเลือดที่ขาอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น หลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังหัวใจและสมอง ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและ
หลอดเลือดสมองตีบ แตก ตันตามมา นอกจากนี้หากแขนขาขาดเลือดอย่างรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดกลุ่มอาการขาขาดเลือดขั้นวิกฤต (Critical Limb Ischemia) ทำให้มีอาการปวดมากแม้ขณะพัก ผิวที่ขามีสีซีด แห้ง เป็นมันเงา มีแผลเปิดที่รักษาไม่หาย สูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่ขาและเกิดเนื้อตายจากการขาดเลือด (gangrene) ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงและดำ พร้อมอาการบวม มีตุ่มหนองและกลิ่นเหม็น
รักษาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันได้อย่างไร
ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็งเช่นกัน ดังนั้นการรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจึงรวมถึงการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน ได้แก่
- การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการลดน้ำหนัก
- การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต
- การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการอื่น เช่น
การผ่าตัดบายพาสหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ศูนย์รักษาแผลแบบองค์รวมให้บริการโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่แพทย์ผู้ชำนาญในสาขาต่างๆและด้านพยาบาลเฉพาะด้านการรักษาแผล (Wound Care Nurse) พร้อมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยในการรักษาแผลอย่างครบครัน ทำให้เราสามารถรักษาแผลที่เรื้อรังหรือซับซ้อนได้อย่างครอบคลุม เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อที่ทำให้เกิดเนื้อตาย แผลเรื้อรัง แผลที่มีปัญหาในการหายของแผล เช่น แผลเบาหวาน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 01 กรกฎาคม 2567