bih.button.backtotop.text

โรคอ้วน

โรคอ้วน
โรคอ้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอัตราการตายและอัตราพิการเพิ่มมากขึ้นกว่าคนไม่อ้วน คนอ้วนมีอายุขัยสั้นกว่าคนที่ไม่อ้วน ผู้ที่มีดัชนีมวลกายในช่วง 30-35 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2-4 ปี ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 40-50 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 8-10 ปี
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงและความผิดปกติการเกิดโรคร่วมต่างๆ เท่าไหร่กัน หากเทียบกับคนน้ำหนักปกติทั่วไป  
โรคอ้วนเป็นโรคที่มีการสะสมของไขมันตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากกว่าปกติ จนมีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้


โรคอ้วนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ชนิด คือ
  1. โรคอ้วนทั้งตัว ชนิดนี้จะมีไขมันกระจายอยู่ทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
  2. โรคอ้วนลงพุง ชนิดนี้จะมีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้อง บรเวณช่องเอวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นการสะสมของไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ  ซึ่งอาจมีปริมาณไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วยจนทำให้เห็นหน้าท้องยื่นออกมาชัดเจน
  1. ผู้ที่มี BMI ระหว่าง 23.0-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร คือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนาให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ การปฏิบัติตัวเพื่อลดน้ำหนักที่เกิน คือ การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  2. ผู้ที่มี BMI > 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ร่วมกับการมีโรคเรื้อรังมากกว่า 2 โรค และมีเส้นรอบเอวมากกว่าปกติ กลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  • ปัจจัยทางสรีรวิทยา
  1. ปัจจัยจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
  2. การตั้งครรภ์
  3. การหยุดสูบบุหรี่
  4. โรคที่ส่งเสริมให้เกิดโรคอ้วน โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ โรคถุงน้ำรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง เป็นต้น
  5. การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อน้ำหนัก เช่น ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยาแก้อาการซึมเศร้า ฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
 
  • ปัจจัยทางพฤติกรรม
  1. เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างพลังงานที่ร่างกายได้รับจากการบริโภคและพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน ทำให้เกิดไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนเป็นโรคอ้วน
  2. โรคกินผิดปกติ
  1. ดัชนีมวลกาย (Body mass index) ในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
                                  ส่วนสูง (เมตร)2
 
ตารางแสดงการวินิจฉัยโรคอ้วน และกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคร่วม**โดยการใช้ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว
 
ภาวะ  ดัชนีมวล  กาย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อเส้นรอบเอวปกติ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อเส้นรอบเอวมากกว่าปกติ**
โรคผอม < 18.5    
ปกติ 18.5-22.9    
น้ำหนักเกิน 23.0-24.9 เสี่ยงเพิ่มขึ้น เสี่ยงสูง
โรคอ้วน 1 25.0-29.9 เสี่ยงสูง เสี่ยงรุนแรง
โรคอ้วน 2 30.0-34.9 เสี่ยงรุนแรง เสี่ยงรุนแรง
โรคอ้วน 3 >=35 เสี่ยงรุนแรงมาก เสี่ยงรุนแรงมาก

**โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เส้นรอบเอว โดยวัดตรงระดับกึ่งกลางระหว่างขอบล่างของกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายและขอบบนของกระดูกเชิงกราน โรคอ้วนลงพุงเส้นรอบเอว > 90 เซนติเมตร ในเพศชาย และ > 80 เซนติเมตรในเพศหญิง
 
มีหลักฐานชัดเจนทางการแพทย์ว่าโรคอ้วนมีความสัมพันธ์
  1. เพิ่มอัตราการตายและอัตราการเกิดโรคต่างๆ
  2. มีหลักฐานเชิงประจักษณ์แน่ชัดว่าการลดน้ำหนักจะลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. ช่วยลดการเกิดความดันโลหิตสูง และลดระดับความดันโลหิตที่สูงให้ลงสู่ภาวะปกติได้
  4. ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ คอลเรลเตอรอล ไขมันเลว (LDL-Cholesterol) และเพิ่มไขมันดี (HDL-Cholesterol)
  5. ลดระดับน้ำตาลที่เริ่มสูงขึ้นในผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน และลดระดับน้ำตาลและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ที่เป็นเบาหวานทำให้สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี
แก้ไขล่าสุด: 09 มกราคม 2566

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ต่อมไร้ท่อ เบาหวานและโภชนบำบัด

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs