bih.button.backtotop.text

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ

PEP ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉินที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
   

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป (PEP)

  1. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจมีเชื้อเอชไอวีและไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด (ถุงแตก)
  2. ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  3. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  4. ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
 

สารคัดหลั่ง (Body fluid) ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ

สารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ได้แก่ น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำไขสันหลัง น้ำในข้อ น้ำในช่องปอด น้ำในช่องหัวใจ น้ำคร่ำ และหนอง ส่วนน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน และปัสสาวะ หากไม่มีการปนเปื้อนเลือด ถือว่ามีจำนวนเชื้อไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดสู่ผู้อื่น

 

ประสิทธิผลในป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

หากผู้รับบริการคาดว่าเพิ่งสัมผัสเชื้อเอชไอวีมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงและรับยาเป็ป (PEP) เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะยิ่งรับยาเร็ว ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพ โดยตัวยานั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่า 80% 

 

จะรับประทานยาเป็ป (PEP) ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ก่อนเริ่มรับประทานยาเป็ป (PEP) ต้องซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาเป็ป (PEP) หรือไม่ โดยแพทย์จะสั่งตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยาเป็ป (PEP) (หากติดเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อนแล้วจะไม่สามารถใช้ยาเป็ปได้) หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีซ้ำ 1 เดือนและ 3 เดือน ในช่วงนี้ควรงดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

 

ติดต่อสอบถามกับทีมพยาบาลผู้ให้คำปรึกษา (Clinical Nurse Coordinator) 

เบอร์โทร 081-8403894
เวลาสำหรับให้คำปรึกษา 08.00-17.00 น.


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs