การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้องเอนโดสโคปเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เป็นวิธีการรักษาหลักที่เกี่ยวข้องกับไซนัสหลายประเภท โดยทั่วไปวิธีการผ่าตัดแบบรุกล้ำน้อยนี้ มักใช้ในกรณีที่ปัญหาของไซนัสยังคงรุนแรงแม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีดั้งเดิมแล้ว สามารถช่วยแก้ไขภาวะต่างๆได้ ตั้งแต่ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ติ่งเนื้อในจมูก ไปจนถึงภาวะที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น การอุดตันของท่อน้ำตา เนื้องอกในบริเวณโพรงจมูกและไซนัส
เมื่อใดที่ต้องผ่าตัดไซนัส
การผ่าตัดไซนัสอาจจำเป็นในกรณีที่เกิดอาการอย่างเฉียบพลันและมีอาการเรื้อรัง
- อาการเฉียบพลัน
- ไซนัสอักเสบที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การแพร่กระจายไปยังตาหรือสมอง
- เนื้องอก
- การติดเชื้อรา
- การอุดตันในช่องเปิดไซนัส
- อาการเรื้อรัง
- ไซนัสอักเสบที่ไม่หายไปหรือกลับมาเป็นซ้ำ
- ติ่งเนื้อในจมูกที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในระยะเวลา 1-3 เดือน
การผ่าตัดไซนัสมีกี่ประเภท
ศูนย์หู คอ จมูก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้บริการทางเลือกในผ่าตัดไซนัสหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย
- การผ่าตัดไซนัสโดยใช้กล้องเอ็นโดสโคป (Functional Endoscopic Sinus Surgery หรือ FESS) เพื่อขยายช่องทางระบายน้ำมูก ทำให้กำจัดน้ำมูกได้สะดวก
- การรักษาไซนัสด้วยบอลลูน (Balloon Sinuplasty) เป็นการใช้บอลลูนเพื่อขยายช่องไซนัส
- เทคนิคการผ่าตัดไซนัสแบบรุกล้ำน้อยอื่นๆ (Minimally Invasive Sinus Techniques): มุ่งเน้นที่การลดระยะเวลาการพักฟื้นและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนในการผ่าตัดมีอย่างไร
- ก่อนการผ่าตัด: ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคัดกรองก่อนการผ่าตัด และอาจต้องงดอาหารหากใช้ยาสลบ
- ระหว่างการผ่าตัด: ศัลยแพทย์ใช้กล้องเอนโดสโคปเพื่อส่องเข้าไปผ่าตัดภายในโพรงจมูก โดยทำการกรีดแผลเล็กๆ เพื่อนำสิ่งอุดตันออก และอาจสร้างช่องทางใหม่ เทคนิคการผ่าตัดนี้ ทำให้มีเลือดออกน้อยลง เจ็บปวดน้อยลง และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดแบบดั้งเดิม
ความเสี่ยงในการผ่าตัดมีอะไรบ้าง
- ความปลอดภัย: มีการใช้ระบบนำวิถีในการผ่าตัดขั้นสูงเพื่อลดความเสี่ยงในอวัยวะสำคัญที่ใกล้กับไซนัส เช่น ตาและสมอง
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น: ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงพบได้น้อยมาก โดยมีความเสี่ยง 1 เปอร์เซ็นต์ที่อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับตาและน้ำไขสันหลัง และความเสี่ยงเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ที่อาจเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตาและหลอดเลือด ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยช่วยจัดการอย่างระมัดระวังเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการผ่าตัด
การฟื้นตัวหลังการผ่าตัดและผลลัพธ์ในระยะยาว
- หลังการผ่าตัด: ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง และจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว
- ผลลัพธ์ในระยะยาว: ผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าบางรายอาจต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
เมื่อมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ
การผ่าตัดไซนัสขั้นสูงที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ศูนย์หู คอ จมูก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้บริการผ่าตัดไซนัสด้วยเทคนิคที่รุกล้ำน้อย สำหรับภาวะไซนัสทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมด้วยเทคนิคการผ่าตัดที่หลากหลาย ทีมแพทย์ผู้ชำนาญของเราพร้อมให้คำปรึกษาและกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาไซนัสอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการและอาการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ป่วยแต่ละราย
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 10 เมษายน 2568