bih.button.backtotop.text

ข้อกฎหมายกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IVF และ IUI ในประเทศไทย

 
จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรสเพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยหรือไม่
การบริจาคไข่สามารถทำในประเทศไทยได้หรือไม่
  • จำเป็น เนื่องจากกฎหมายระบุว่าคู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะสามารถรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IUI และ IVF ในประเทศไทยได้ คุณจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วย อย่างไรก็ตามกฎหมายอนุญาตให้มีการกระตุ้นรังไข่และใช้ยาเพื่อให้เจริญพันธุ์บางชนิดได้โดยไม่จำเป็นต้องแต่งงาน หากทะเบียนสมรสของคุณเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย คุณจำเป็นต้องแปลและให้สถานทูตของประเทศนั้นๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยทำการรับรอง ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์การเจริญพันธุ์
     
    ในกรณีคู่สมรสแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับเพศเดียวกันในประเทศของท่าน จะสามารถใช้วิธี IUI และ IVF ในประเทศไทยได้หรือไม่
  • ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาเด็กหลอดแก้ว (IVF หรือ IUI) กับคู่สมรสเพศเดียวกัน แม้จะแต่งงานถูกต้องตามกฏหมายของประเทศนั้นๆ
     
     
  • การบริจาคไข่ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่การบริจาคไข่เพื่อการค้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายรวมถึงห้ามผู้รับบริจาคไข่รับไข่จากผู้บริจาคเกิน 1 คนในแต่ละรอบการรักษา ผู้ที่ต้องการรับการบริจาคไข่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า และสามีของผู้รับบริจาคไข่ต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมรับไข่บริจาค” สำหรับผู้บริจาคไข่จำเป็นต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคไข่”
    ผู้บริจาคไข่ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • ต้องมีอายุระหว่าง 20-35 ปี
    • ในกรณีผู้บริจาคไข่เป็นญาติกับผู้รับบริจาค สืบสายโลหิต โดยมิใช่มารดาหรือบุตร ต้องมีอายุระหว่าง 20-40 ปี
    • ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต
    • หากมิใช่ญาติสืบสายโลหิต ผู้บริจาคต้องมีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฏหมาย
    • คู่สมรสของผู้บริจาคไข่ต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
    • บริจาคไข่ไม่เกิน 3 ครั้งในชีวิต
    • ห้ามไม่ให้ผู้บริจาค บริจาคไข่มากกว่า 1 คนในแต่ละรอบการรักษา
     
    การบริจาคอสุจิในประเทศไทยทำได้หรือไม่
    การบริจาคออสุจิเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย แต่การบริจาคอสุจิเพื่อการค้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
    ผู้ที่ต้องการรับการบริจาคอสุจิจำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรส และคู่สมรสต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมรับอสุจิบริจาค” สำหรับผู้บริจาคอสุจิจำเป็นต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคอสุจิ” ผู้บริจาคอสุจิสามารถบริจาคอสุจิได้เฉพาะกรณีที่เมื่อบริจาคแล้วมีการตั้งครรภ์จนได้บุตรไม่เกิน 10 ครอบครัว
    ผู้บริจาคอสุจิต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • มีอายุระหว่าง 20-45 ปี
    • ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต
    • คู่สมรสของผู้บริจาคอสุจิต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
    • ต้องไม่เป็นญาติกับผู้รับบริจาค
    • ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติด
    • ไม่มีประวัติความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • ไม่มีประวัติความเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรม
    • ไม่มีประวัติความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (เช่น HIV หรือ AIDS)
    • ผู้บริจาคอสุจิต้องยินยอมให้ตรวจหาเชื้อ HIV หรือ AIDS ก่อนส่งตัวอย่างอสุจิและตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากตรวจครั้งแรก 6 เดือนก่อนใช้อสุจิในขั้นตอนการรักษา
     
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่มีอย่างไรบ้าง
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่มีดังต่อไปนี้
    • ก่อนการแช่แข็งไข่ ผู้ป่วยต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
    • ผู้ป่วยต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
    • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกไข่ที่ “ติดเชื้อ” ออกจากไข่ที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
    • อาจไม่สามารถใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
    • สามีที่ต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากภรรยาก่อนเสียชีวิต
    • ต้องรายงานกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้ว
     
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งอสุจิมีอย่างไรบ้าง
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งอสุจิมีดังต่อไปนี้
    • ก่อนการแช่แข็งอสุจิ ผู้ป่วยต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
    • ผู้ป่วยต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
    • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกอสุจิที่ “ติดเชื้อ” ออกจากอสุจิที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV หรือไม่มีเชื้อ HIV)
    • ภรรยาที่ต้องการใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากสามีก่อนเสียชีวิต
    • อาจไม่สามารถใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
    • ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใชอสุจิแช่แข็งของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว
     
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีอย่างไรบ้าง
    ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีดังต่อไปนี้
    • คู่สมรสที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    • ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อนทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
    • คู่สมรสต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
    • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV หรือไม่มีเชื้อ HIV)
    • สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
    • ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส
    • อาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
     
    ในประเทศไทยสามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้หรือไม่
    ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
    • ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี
    • ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
    • มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
    • ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน
    • เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
    • เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน
    • เพื่อรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือของทารกแรกคลอดที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้
     

     
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ข้อกฎหมายกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IVF และ IUI ในประเทศไทย
คะแนนโหวต 0 of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs