bih.button.backtotop.text

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ในระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่มีการคุมกำเนิด หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
การมีบุตรยากอาจเกิดจากความผิดปกติของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน ปัจจัยจากฝ่ายชายประมาณ 20-30% สาเหตุจากฝ่ายหญิงประมาณ 40-55% สาเหตุจากทั้งชายและหญิงประมาณ 20-30% และที่ไม่ทราบสาเหตุอีกประมาณ 10-20%


1.ความผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่ เช่น 
  • ภาวะระดับโปรแลคตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia) 
  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS ( Polycystic ovarian syndrome)
  • ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (chronic anovulation)

2.มีความผิดปกติของท่อนำไข่ เช่น 
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 
  • โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • ภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinx)

3.ความผิดปกติของมดลูก เช่น 
  • มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
  • พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (leiomyoma หรือ fibromyoma หรือ fibroid หรือ myoma uteri)

4.การลดลงของสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve)
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการโครโมโซม เอกซ์ เปราะ หรือ fragile X 
  • โรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

5.อายุและการลดลงของเซลล์ไข่
 
1.ความผิดปกติในการสร้างอสุจิ เช่น ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Klinefelter syndrome หรือ การมี microdeletion ของโครโมโซม Y การอักเสบติดเชื้อ (การอักเสบของอัณฑะจากเชื้อไวรัสคางทูม) 

2.ความผิดปกติของ sperm function เช่น
  • การอักเสบของท่อระบบสืบพันธุ์ เช่น การอักเสบของต่อมลูกหมาก 
  • การที่มี varicocele

3.การอุดตันของท่อนำอสุจิ เช่น 
  • การผ่าตัดทำหมันชาย 
  • การอักเสบของท่อนำอสุจิ 
  • ความผิดปกติตั้งแต่เกิด
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามแม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก ได้แก่

1.    การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (intrauterine insemination: IUI) เป็นการกระตุ้นให้ไข่ตกแล้วนำน้ำเชื้ออสุจิที่คัดแล้วฉีดเข้าไปผสมกับไข่ในร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหามากนัก ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์

2.    การช่วยให้ปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว ด้วยเทคนิด IVF (In vitro fertilization) เป็นการรักษาด้วยการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

3.    การช่วยให้ปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว ด้วยเทคนิด ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายโดยวิธีการฉีดอสุจิที่ดีที่สุดหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่เพื่อทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
 
 
แก้ไขล่าสุด: 18 เมษายน 2567

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs