bih.button.backtotop.text

โรคลมชักรักษาได้

15 พฤศจิกายน 2566

โรคลมชักรักษาได้

โรคลมชักเป็นอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เรื้อรัง โดยผู้ป่วยจะมีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำอยู่เรื่อยๆโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น โรคลมชักเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ อาการชักเป็นอาการหลักของโรคลมชัก โดยเกิดจากระบบประสาทในสมองทำงานมากเกินปกติ
 

โรคลมชักมีกี่ประเภท

โรคลมชักมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีอาการเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงการรักษาและการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหม่อลอยหรือล้มลงทันที ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงหรือหมดสติ
 

ขั้นตอนการวินิจฉัยมีอะไรบ้าง

การวินิจฉัยโรคลมชักมีหลายขั้นตอน โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจระบบประสาท ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) และตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ทีมแพทย์ผู้ชำนาญด้านระบบประสาทของบำรุงราษฎร์มีประสบการณ์สูงในการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชัก รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการช่วยวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ
 

มีทางเลือกในการรักษากี่วิธี

 การรักษาโรคลมชักในปัจจุบันทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
  • การรักษาด้วยยากันชัก แพทย์ผู้ชำนาญด้านระบบประสาทของบำรุงราษฎร์ทำงานร่วมกับนักพันธุศาสตร์เพื่อตรวจยีนดูการตอบสนองของยาแต่ละบุคคล (pharmacogenomic profile)  ทำให้สามารถเลือกยาที่กันชักที่มีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  • การบำบัดด้วยอาหาร (dietary therapy) เช่น การกินอาหารแบบคีโตเจนิก ไดเอต (Ketogenic Diet)
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทสมอง (vagus nerve stimulation) และการกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep vein stimulation)
  • การผ่าตัด ในกรณีที่ต้องรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด เช่น รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ก่อนผ่าตัดแพทย์จะทำการตรวจเพื่อค้นหาบริเวณที่ทำให้เกิดอาการของโรคประกอบด้วยวิธีการดังนี้
    • การตรวจติดตามการทำงานของสมองด้วยการถ่ายภาพวิดีโอคลื่นไฟฟ้าสมอง (video EEG epilepsy monitoring)
    • ตรวจการทำงานของสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Functional magnetic resonance imaging: fMRI)
    • การตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (SPECT – Ictal single photon emission computed tomography)
    • การตรวจเพทสแกนร่วมกับสาร FDG (FDG-PET for cerebral glucose metabolism) 
โรคลมชักเป็นโรคที่ซับซ้อนและมีอาการที่หลากหลาย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างครอบคลุมโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เช่น การให้ยากันชัก การบำบัดด้วยอาหาร การกระตุ้นเส้นประสาทสมองและการผ่าตัด นอกจากนี้การรักษาโรคลมชักแบบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเพาะเจาะจงและการเฝ้าติดตามอาการอย่างระมัดระวังยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการดูแลรักษาโดยเน้นผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลางของศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ว่าจะมีอาการซับซ้อนเพียงใดได้อย่างมีประสิทธิภาพ




 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs