bih.button.backtotop.text

ทำความรู้จักมะเร็งรังไข่ หนึ่งในโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม



มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 7 ของมะเร็งที่พบในเพศหญิง แต่เป็นอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี จากสถิติของ Globocan ในปี 2563 ได้คาดทำนายว่าภายในปี 2583 ทั่วโลกจะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นเกือบ 42% และจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% ทุกปีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าถึงแม้มะเร็งรังไข่จะพบได้ไม่มากเท่ากับโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งทางระบบสืบพันธุ์สตรีหลายชนิด แต่เป็นโรคที่ร้ายแรง มีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่าโรคมะเร็งเต้านมและพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ


มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 7 ของมะเร็งที่พบในเพศหญิง แต่เป็นอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี จากสถิติของ Globocan ในปี 2563 ได้คาดทำนายว่าภายในปี 2583 ทั่วโลกจะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นเกือบ 42% และจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% ทุกปีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าถึงแม้มะเร็งรังไข่จะพบได้ไม่มากเท่ากับโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งทางระบบสืบพันธุ์สตรีหลายชนิด แต่เป็นโรคที่ร้ายแรง มีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่าโรคมะเร็งเต้านมและพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ


มะเร็งรังไข่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ความผิดปกติของยีนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมถือเป็นสาเหตุหนึ่ง การมียีนที่ผิดปกติถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสในการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับคนทั่วไป ดังนั้นการตรวจยีนในกลุ่มบุคคลที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งรังไข่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

 

ยีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งรังไข่


ยีนหลักๆที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่คือยีน BRCA1 และ BRCA2 โดยปกติคนทั่วไปจะมีโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ประมาณ 1.3% แต่หากมียีนกลายพันธุ์  BRCA1 ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่จะสูงขึ้นอย่างชัดเจนถึง 40-50% และหากมียีนกลายพันธุ์ BRCA2 ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 20-40% นอกจากนี้ยังมียีนกลายพันธุ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome, ยีน BRIP1, ยีน RAD51C และ ยีน RAD51D ที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
 

ใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมสูง ควรได้รับการตรวจยีนมะเร็งรังไข่ 

  • ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมีประวัติครอบครัวสายเลือดเดียวกันเป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยกว่า 50 ปี และมีญาติที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) 
  • มีประวัติครอบครัวฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านมและ/หรือมะเร็งรังไข่หลายชั่วรุ่น เช่น มีย่าและป้าทางฝั่งบิดาที่เป็นโรคมะเร็งเหล่านี้
  • ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำที่เต้านมข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้าง หรือเป็นทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
  • ผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวหรือเป็นมะเร็งตับอ่อน
  • ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุต่ำกว่า 50 ปี 
  • มีญาติผู้ชายที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีประวัติครอบครัวที่ตรวจพบความผิดปกติของยีนมะเร็งทางพันธุกรรม
  • มีประวัติครอบครัวฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และ/หรือมะเร็งตับอ่อน

ตรวจยีนมะเร็งรังไข่ มีประโยชน์อย่างไร

ถึงแม้ไม่ใช่ทุกคนที่มียีนกลายพันธุ์เหล่านี้จะเป็นมะเร็ง แต่การตรวจยีนช่วยในการป้องกันและพยากรณ์โรค รวมถึงช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และหากตรวจพบยีนมะเร็งรังไข่ ยังช่วยให้ญาติที่สายเลือดเดียวกัน
ตระหนักถึงความเสี่ยงและตรวจยีนตามเพื่อป้องกันโรคได้อีกด้วย
  • การตรวจหายีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ช่วยให้แพทย์สามารถแยกแยะประเภทของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 และสามารถวางแผนป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ที่มียีน BRCA1 มักจะเกิดโรคมะเร็งรังไข่เมื่ออายุน้อยกว่าผู้ที่มียีน BRCA2 หรือเมื่อมีอายุประมาณ 35-50 ปี ในขณะที่ผู้ที่มียีน BRCA2 มักเกิดโรคมะเร็งรังไข่เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี
  • ตรวจหายีนผิดปกติในเซลล์มะเร็ง ทำให้แพทย์สามารถใช้วิธีการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy) โดยเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และช่วยหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา

ดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่

  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณหรือครอบครัวอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชพันธุศาสตร์เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงว่ามีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งรังไข่มากน้อยแค่ไหนและควรได้รับการตรวจยีนหรือไม่
  • ยาคุมกำเนิด การกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ การกินยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปีขึ้นไปช่วยลดความเสี่ยงลงถึง 50% อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้มีความเสี่ยงเช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดใดๆ 
  • การผ่าตัดเพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ การผ่าตัดท่อนำไข่และรังไข่ทั้งสองข้างในอายุที่เหมาะสม สามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่ได้มาก 
  • การตรวจภายในและพบสูตินรีแพทย์เป็นประจำทุกปี สำหรับผู้ที่ไม่มีประวัติ แต่หากตรวจพบยีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แพทย์อาจนัดหมายเพื่อตรวจร่างกายบ่อยครั้งขึ้น ร่วมถึงการทำอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องท้องและการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ชนิด CA-125 ในเลือด

ทำไมจึงเลือกตรวจพันธุกรรมกับบำรุงราษฎร์

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพครบทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ นักพันธุศาสตร์และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งนรีเวช นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนของเรายังได้รับการรับรองจาก CAP Certified Laboratory จาก The College of American Pathologists (CAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่รับรองความถูกต้องแม่นยำและคุณภาพที่สม่ำเสมอของผลการตรวจวินิจฉัยและผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ

พร้อมให้คำปรึกษาในการป้องกันโรคและรักษาโรคแบบองค์รวม  ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกัน และสุขภาพครอบครัว
โทร : 02-011-4890 , 02-011-4891  (ระหว่างเวลา 8.00-18.00 น.)





 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แก้ไขล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs