bih.button.backtotop.text

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก มักพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หรือพบระยะลุกลาม และมักมีอัตราเสียชีวิตสูงได้ เนื่องจากอาการเริ่มแรกมักไม่จำเพาะเจาะจง อาจมีเพียงอาการปวดท้องหรือไม่มีอาการเลย ทำให้การรักษามีความล่าช้า

สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน

สาเหตุของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด 10% ของมะเร็งตับอ่อนมีความผิดปกติของยีนส์ หรือกลุ่มอาการ ตามด้านล่าง

  • BRCA 1 , BRCA 2
  • PALB 2
  • Familial atypical multiple mole melanoma (FAMMM ) syndrome
  • Familial pancreatitis PRSS 1 gene
  • Lynch syndrome ( HNPCC)
  • Peutz – Jeghers syndrome STK 11 (www.cancer.org ) American cancer society

ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการ มักเกิดอาการเมื่อลุกลามแล้ว เช่น

  • ปวกท้องใต้ลิ้นปี่เหมือนโดนมีดแทงและร้าวไปข้างหลัง
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ตับโต
  •  ตรวจเลือด
  • CT scan (Computerized Tomography Scan) แบบ Helical CT และการฉีดสารทึบรังสี สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งซึ่งมีขนาดเล็ก ๆ เนื่องจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงอยางต่อเนื่องรอบตัวผู้ป่วย เมื่อรังสีเอกซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วยจะได้ภาพหลายภาพ ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าแบบพื้นฐาน และได้ภาพที่มีความแม่นยำสูงกว่า
  • กาารฉีดรังสีร่วมกับ CT scan ยังสามารถบอกว่าก้อนมะเร็งติดหรือลุกลามเข้าไปในหลอดเลือดหรือไม่
  • การใช้ CT - Guided FineNeedle Aspiration (FNA) สามารถช่วยในการพิสูจน์เซลล์มะเร็งได้ แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยความชำนาญ ของแพทย์ทางรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiologist)
  • การพิสูจน์ชิ้นเนื้อที่มีประสิทธิภาพคือการตัดชิ้นเนื้อผ่าน endoscope (ERCP - Endoscopic Retrograde  Cholangiopancreaticography) วิธีนี้ยังสามารถช่วยให้ได้ภาพทางรังสี ซึ่งแสดงถึงการอุดตันของท่อน้ำดี และท่อตับอ่อน
การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งทำได้ในกรณีที่ตรวจพบเร็วและมะเร็งยังไม่แพร่กระจาย

หลายครั้งที่กว่าจะพบ ผู้ป่วยก็เป็นมากแล้วคืออยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้และมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี

ในช่วงท้ายการเจ็บป่วยนั้น บางครั้งอาจยังไม่ทราบสาเหตุและไม่มีอาการบ่งชี้เฉพาะ อย่านิ่งนอนใจหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพราะเรื่องของสุขภาพนั้นประมาทไม่ได้

โดยใช้วิธีการแบ่งตาม American Joint Committee on Cancer (AJCC) ปี 2002 ดังตารางที่ 1 และ 2 การแบ่งระยะโรคมะเร็งโดย Kawarada  มีประโยชน์ในการวางแผนการรักษามากกว่า โดยจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. ผ่าตัดได้ 
  2. ระยะรุนแรงขึ้นแต่ยังอยู่เฉพาะที่
  3. ระยะแพร่กระจาย

ในกรณีผ่าตัดได้คือ

  1. ไม่มีการกระจายของมะเร็ง
  2. ก้อนมะเร็งไม่โอบรอบเส้นเลือดแดง Celiac หรือ superior mesenteric
  3. ก้อนมะเร็งไม่โอบรอบเส้นเลือดดำ superior mesenteric และ portal
ตารางที่ 1  TNM Classification ของมะเร็งตับอ่อน
11.jpg


ตารางที่ 2  AJCC Stage grouping ของมะเร็งตับอ่อน

12.png
 
แก้ไขล่าสุด: 08 มีนาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs