bih.button.backtotop.text

ภาวะครรภ์เสี่ยงที่คุณแม่ท้องแฝดหรือมีโรคประจำตัวต้องระวัง

 

ภาวะครรภ์เสี่ยงที่คุณแม่ท้องแฝดหรือมีโรคประจำตัวต้องระวัง

ภาวะครรภ์เสี่ยงคือภาวะที่การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อคุณแม่หรือทารกหรือทั้งคู่สูงกว่าปกติ คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการดูแลคุณแม่ภาวะครรภ์เสี่ยง ทำให้มั่นใจได้ในความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารก

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยงมีอะไรบ้าง

ภาวะครรภ์เสี่ยงเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
  • อายุ คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 16 ปีหรือมากกว่า 35 ปี
  • มารดามีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต หัวใจ โรคติดเชื้อเอชไอวี กามโรค พาหะตับอักเสบบีและโรคทางอายุรกรรมต่างๆ เช่น โลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษและภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคธาลัสซีเมีย วัณโรค โรคลมชัก
  • มีประวัติการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น การแท้งบุตรไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์แฝด เคยคลอดลูกแล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์และหลังคลอด ทารกคลอดก่อนและหลังกำหนด ทารกโตช้าในครรภ์ เคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมหรือมากกว่า 4,000 กรัม  ทารกพิการด้านสมอง มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ติดยาเสพติดหรือสุรา สูบบุหรี่
 
Layout-High-risk-pregnancy-infographic-01-(1).jpg

 

สัญญาณที่บ่งบอกภาวะครรภ์เสี่ยงมีอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ เช่น
  • ปวดศีรษะบ่อย
  • จุกเสียดแน่นท้อง
  • ขนาดท้องเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • ตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้วลูกยังไม่ดิ้น
 

ความพร้อมระดับสูงในการดูแลภาวะครรภ์เสี่ยงของศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด

ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมในการดูแลรักษาและให้คำแนะนำคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงอย่างมีประสิทธิภาพไร้รอยต่อตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ด้วยองค์ประกอบดังนี้
  • ได้รับการจัดระดับการให้บริการดูแลทารกแรกเกิดระยะวิกฤตในระดับที่ IV ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการดูแลทารกแรกเกิดตามเกณฑ์ของ American Academy of Pediatrics
  • ทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิดและทีมพยาบาลที่ได้รับการอบรมเพื่อดูแลทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation Program course: NRP) โดยเฉพาะ รวมถึงทีมแพทย์สหสาขาที่ชำนาญเฉพาะทางครบทุกสาขาของกุมารเวชศาสตร์ เช่น สูตินรีแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เสี่ยงสูง แพทย์ผ่าตัดเด็ก แพทย์ผู้ชำนาญด้านการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกสำหรับเด็ก วิสัญญีแพทย์เฉพาะเด็ก ซึ่งทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการดูแลคุณแม่และทารก
  • มีพื้นที่ในการดูแลทารกอย่างครบวงจรในบริเวณเดียวกันโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายทารกออกนอกแผนก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารก
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอย่างครบครัน




 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แก้ไขล่าสุด: 01 กรกฎาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs