bih.button.backtotop.text

NIPT ตรวจคัดกรองโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่ออนาคตที่สมบูรณ์ของลูกน้อย

ตั้งแต่นาทีแรกที่ทราบว่าลูกน้อยอยู่ในครรภ์ตลอดจนระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์นั้น นับเป็นช่วงเวลาพิเศษสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกน้อยในครรภ์ให้เติบโตสมบูรณ์แข็งแรง การดูแลเรื่องของสุขภาพ พัฒนาการของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ของลูกในครรภ์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและอาจทำให้เกิดความกังวลใจ  “การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ หรือการตรวจ NIPT” เป็นทางเลือกใหม่ให้คุณแม่ที่ต้องการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของลูก เพื่อช่วยคลายความกังวลและวางแผนดูแลก่อนที่ลูกน้อยจะออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

 

การตรวจ NIPT คืออะไร

การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา สามารถหาความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการดาวน์หรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่นที่สำคัญ รวมถึงโครโมโซมเพศและเพศของทารกในครรภ์ได้

หญิงตั้งครรภ์สามารถรับการตรวจ NIPT ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และเนื่องจากเป็นการตรวจชิ้นส่วนสารพันธุกรรมจากรกที่ปนอยู่ในเลือดของมารดา จึงเป็นการตรวจที่ปลอดภัยและมีความแม่นยำสูงถึง >99% เนื่องจากใช้ เทคโนโลยีวิเคราะห์ลำดับเบส (Next Generation Sequencing) ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติของโครโมโซม

โดยปกติมนุษย์มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ หรือ 46 โครโมโซม (ได้จากมารดา 23 โครโมโซม จากบิดา 23 โครโมโซม) ความผิดปกติของโครโมโซมอาจเกิดได้หลายลักษณะ เช่น มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy) ขาดไป 1 แท่ง (Monosomy) หรือมีการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม (microdeletion)

สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมที่พบได้บ่อยมีความสัมพันธ์กับอายุของมารดาที่มากขึ้น เช่น กลุ่มอาการดาวน์ โดยพบว่า มารดาอายุ 25 ปี จะมีโอกาสพบทารกที่มีภาวะกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณ 1:1100 ต่อการคลอดมีชีพ แต่จะสูงขึ้นเป็น 1:350  ในมารดาอายุ 35 ปี และสูงถึง 1:100 ในมารดาอายุ 40 ปี

แต่อย่างไรก็ตามความผิดปกติของโครโมโซมเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางชนิดไม่ขึ้นกับอายุของมารดา แต่อาจเกิดจากการส่งต่อทางพันธุกรรม สารเคมี หรือจากหลายสาเหตุร่วมกัน

 

ตรวจ NIPT เพื่อคัดกรองภาวะใด

 

รายละเอียดการตรวจ

แพ็กเกจการตรวจ

NIPT

NIPT+ Microdeletions

Trisomy

 

 

   Trisomy 21 (กลุ่มอาการดาวน์)

   Trisomy 18 (กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด)

   Trisomy 13 (กลุ่มอาการพาทัว)

ตรวจคัดกรองเพศของทารกในครรภ์

ตรวจคัดกรองความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมเพศ

 

 

XX, XY

XO, XXX, XXY, XYY

ตรวจคัดกรองความผิดปกติที่เกิดจากการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม(Microdeletions) 

 

 

   DiGeorge syndrome

 

   1p36 deletion syndrome

   Angelman syndrome/ Prader-Willi syndrome

   Cri-du-chat syndrome

   Wolf-Hirschhorn syndrome

ตรวจคัดกรองความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมคู่อื่นๆ อีก 19 คู่

 

 
  • กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม  เป็นภาวะผิดปกติทางโครโมโซมที่พบได้บ่อยที่สุด ทารกจะมีศีรษะค่อนข้างเล็กและแบน หางตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน หูเกาะต่ำกว่าปกติ ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา อาจมีผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว พัฒนาการช้า มีไอคิวค่อนข้างต่ำ
  • กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ทารกจะมีศีรษะและขากรรไกรเล็ก ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติ อาจมีปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วมือและเท้าบิดงอผิดรูป มีหัวใจและไตพิการ ปอดและทางเดินอาหารผิดปกติ ไอคิวต่ำ เด็กมักเสียชีวิตภายใน 1 ปี
  • กลุ่มอาการพาทัวร์ (Trisomy 13) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ทารกมีปากแหว่ง เพดานโหว่ ตาเล็ก ใบหูต่ำ นิ้วมือนิ้วเท้าเกิน หูหนวก สมองพิการ มักจะเสียชีวิตภายในไม่กี่อาทิตย์หลังคลอด
  • Sex Chromosome Aneuploidy and Fetal Sex Determination (ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมเพศและเพศของทารกในครรภ์) ไม่เพียงแต่จะตรวจว่าเป็นผู้หญิง (XX) หรือผู้ชาย (XY) เท่านั้น แต่สามารถตรวจความผิดปกติที่เกิดจากจำนวนโครโมโซมเพศขาดหรือเกิน (XO, XXX, XXY, XYY) ทำให้สามารถวางแผนดูแลรักษาได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Microdeletions* (ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม)
  • Genome-Wind Aneuploidy Detection** (ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมคู่อื่นอีก 19 คู่)
*Microdeletions ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซมที่ทำให้เกิด  DiGeorge syndrome, 1p36 deletion syndrome, Prader-Willi syndrome/ Angelman syndrome, Cri-du-chat syndrome และ Wolf-Hirschhorn syndrome

** Genome-Wide Aneuploidy detection: ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมคู่อื่นๆ ที่นอกเหนือไปจาก 13,18,21 และโครโมโซมเพศ (รวมตรวจเพิ่มอีก 19 คู่)


ใครที่สามารถเข้ารับการตรวจ NIPT ได้

ใครที่สามารถเข้ารับการตรวจ NIPT ได้ สูตินรีเวช


การตรวจ NIPT ไม่เหมาะสมกับมารดาที่

NIPT ไม่เหมาะสมกับมารดา


การตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่นให้ผลอย่างไร

การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่ใช้ในปัจจุบันโดยทั่วไป หรือ First Trimester Combined Test (FTCT) คือการทำอัลตราซาวด์ ร่วมกับการตรวจวัดระดับสารชีวเคมีบางตัวในเลือดมารดา การตรวจด้วยวิธีนี้มีอัตราการตรวจพบ (sensitivity) ประมาณ 85% และผลบวกลวง (false positive) ประมาณ 3.3% เปรียบเทียบกับวิธี IONA® NIPT ซึ่งมีอัตราการตรวจพบ (sensitivity) > 99% และผลบวกลวง (false positive) < 0.09%

ตามขั้นตอนปกติของการตรวจคัดกรอง หากได้ผลเป็นบวก (พบความผิดปกติ) แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจยืนยันด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก ซึ่งอาจสร้างความเครียด เจ็บปวด และมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรที่ประมาณ 0.5-1% ดังนั้นการการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำสูง ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่ไม่จำเป็นและอาจมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ได้


ข้อดีของการตรวจ NIPT 

NIPT_blog3.jpg


การรายงานผลการตรวจ NIPT

การรายงานผล NIPT

Low risk (ความเสี่ยงต่ำ)

หมายความว่า การตั้งครรภ์ของคุณมีความเสี่ยงน้อยมากที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซม 21, 18 และ 13

High risk (ความเสี่ยงสูง)

หมายความว่า การตั้งครรภ์ของคุณมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติของโครโมโซม 21, 18 และ 13 และควรรับการตรวจยืนยันด้วยวิธีตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การเจาะตรวจน้ำคร่ำ หรือ การตรวจชิ้นเนื้อรก

No result (ไม่ได้ผลลัพธ์)

เป็นกรณีที่พบได้น้อยมากเนื่องจากดีเอ็นเอของทารกในครรภ์ไม่เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์ อาจต้องทำการเจาะเลือดเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน

A Sex Determination failure (ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์เพศของทารก)

ไม่มีผลต่อคุณภาพการวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมอื่น


ข้อจำกัดในการตรวจ :

มารดาตั้งครรภ์บางรายอาจมีภาวะที่เป็นข้อจำกัดในการตรวจ ทำให้ไม่สามารถรายงานผลได้ ควรได้รับคำแนะนำเฉพาะจากแพทย์ผู้ชำนาญการ


เรียบเรียงโดย ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ศูนย์สูติ-นรีเวช
อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 2 ด้านเหนือ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 33 สุขุมวิท ซอย 3 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
โทร. 02 011 5999
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs