bih.button.backtotop.text

H. pylori เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ตัวการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) คือเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ติดเชื้อนี้มีความเสียงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20 % โดยมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย และมีโอกาสสูงที่จะเกิดในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงผู้ติดเชื้อนี้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 3 % 


เชื้อแบคทีเรีย H.pylori คืออะไร

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) คือเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ติดเชื้อนี้มีความเสียงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20 % โดยมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย และมีโอกาสสูงที่จะเกิดในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงผู้ติดเชื้อนี้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 3 % และพบว่าครึ่งนึงของประชากรโลก มีการติดเชื้อนี้ในทางเดินอาหารส่วนต้น โดยในประเทศแถวในเอเซียและแอฟริกาจะพบการติดเชื้อได้มากกว่าประเทศทางตะวันตก

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เราใช้วิธีการตรวจหาเชื้อทางลมหายใจ หรือ Urea Breath Test เพื่อความรวมเร็วของผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาในการตรวจทั้งหมดเพียง 30 นาที รวมถึงวิธีนี้ยังให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และปลอดภัยสำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์อีกด้วย


อาการ และใครบ้างที่ควรตรวจ

  1. ผู้ทีมีอาการเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เช่น ปวดท้อง อืดท้อง มีลมในท้อง เบื่ออาหาร
  2. มีประวัติเป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร
  3. บุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
 

การตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. ตรวจผ่านลมหายใจ (Urea Breath Test)
  2. ตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  3. ตรวจจากอุจจาระ
 

วิธีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อ

  • การรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรด ร่วมกับยาปฎิชีวนะ
 

ข้อดีของการใช้ Urea Breath Test

  • ไม่เจ็บปวด
  • ไม่เป็นสารรังสี
  • ปลอดภัยต่อเด็กและสตรีมีครรภ์
  • ใช้ประเมินการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • มีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) มากกว่า 98 เปอร์เซ็นต์
 

ขั้นตอนในการตรวจ Urea Breath Test

  • เป่าลมหายใจลงในถุงใบแรกก่อนรับประทานเม็ดยา UBIT จนเต็มถุง
  • กลืนเม็ดยา UBIT (ภายใน 5 วินาที) พร้อมดื่มน้ำ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร) ห้ามเคี้ยว บด หรือละลายเม็ดยา
  • นอนตะแคงด้านซ้ายเป็นเวลา 5 นาที
  • เปลี่ยนเป็นท่านั่งเป็นเวลา 15 นาที
  • เมื่อครบ 20 นาทีหลังรับประทานเม็ดยา UBIT แล้วเป่าลมหายใจลงในถุงใบที่สองจนเต็ม 
  • เก็บถุงตัวอย่างทั้งสองใบส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  • นัดผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อฟังผลการวิเคราะห์
 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 29 ธันวาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs