bih.button.backtotop.text

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่ามีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายหลายรายที่รู้สึกว่าช่วงเวลาของการบำบัดทดแทนไตคือวาระสุดท้ายของตนเอง


ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปลูกไต Infographic
 

ชีวิตใหม่หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่ามีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายหลายรายที่รู้สึกว่าช่วงเวลาของการบำบัดทดแทนไตคือวาระสุดท้ายของตนเอง เพราะความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากการฟอกเลือดหรือเสี่ยงติดเชื้อจากล้างไตทางช่องท้องนั้นบั่นทอนคุณภาพชีวิตอย่างมาก แต่หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น พึ่งพาตัวเองได้ มีความหวัง มีอนาคต ไม่ต่างจากการได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่าหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของไต (serum creatinine) และรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างเคร่งครัด เพราะหากละเลยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยอาจต้องสูญเสียไตใหม่ที่ได้รับและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา
 

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตอาจมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • ความเสี่ยงจากการที่ร่างกายปฏิเสธไตใหม่ (kidney rejection) จากสถิติการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พบว่า อัตราการเกิดภาวะปฏิเสธไตใหม่อย่างเฉียบพลัน (acute rejection) พบน้อยกว่า 10% ซึ่งความเสี่ยงในเรื่องนี้สามารถป้องกันได้หากผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพียงพอ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทันทีหลังผ่าตัด ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ เลือดออก การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและการไหลเวียน เช่น ความดันโลหิตต่ำ และปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง ทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้ภายหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตนานๆ ซึ่งมักเกิดจากการบริหารยากดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้น
 

 
เรียบเรียงโดย ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs