โดยทั่วไปเหตุผลที่แพทย์แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดมีดังนี้
- ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
- ผู้ป่วยมีก้อนที่มีลักษณะสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
- ผู้ป่วยมีก้อนที่ไม่ใช่มะเร็งแต่มีขนาดใหญ่จนทำให้เกิดอาการ เช่น กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน มีอาการแน่นอึดอัดบริเวณลำคอ หรือก้อนค่อนข้างโตอย่างรวดเร็ว
- ผู้ป่วยมีภาวะต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป เช่น โรค Grave's disease และโรค toxic nodules
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วไม่ได้ผลดีและไม่ต้องการรักษาด้วยวิธีการกลืนแร่รังสีไอโอดีน
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีกี่วิธี
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์อาจเป็นการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด โดยการผ่าตัดทำได้ 2 วิธีคือ
- การผ่าตัดโดยวิธีมาตรฐาน คือการผ่าตัดโดยเปิดแผลบริเวณด้านหน้าของไทรอยด์ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาหลักของมะเร็งไทรอยด์
- การผ่าตัดส่องกล้อง สำหรับก้อนที่ไม่ใช่มะเร็ง แพทย์สามารถใช้วิธีผ่านตัดผ่านกล้อง ทำให้ไม่มีแผลบนลำคอแต่อาจมีแผลบริเวณรักแร้หรือบริเวณในช่องปาก หลังริมฝีปากด้านล่าง
ความเสี่ยงในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีอย่างไรบ้าง
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสในการเกิดอาการแทรกซ้อนน้อย แต่เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป การผ่าตัดต่อมไทรอยด์อาจมีความเสี่ยง เช่น
- เลือดออก
- ติดเชื้อ
- เส้นประสาทเสียหาย ทำให้เสียงแหบชั่วคราวหรือถาวร
- ต่อมพาราไทรอยด์ ที่ช่วยควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดเสียหาย ทำให้ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมาลดลง ส่งผลให้ร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ทำ ให้เกิดอาการชาหรือเป็นตะคริวจากการที่มีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นอย่างถาวร
เมื่อเจอก้อนเนื้อที่คอ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจไปทับทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารทำให้หายใจและกลืนลำบาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญด้านการผ่าตัดต่อมไทรอยด์โดยตรง ช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด
เรียบเรียงโดย นพ. วิชพันธ์ เหมรัญช์โรจน์ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหู คอ จมูก
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 มิถุนายน 2567