You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ตัวคัดกรองที่เลือก: ทั้งหมด
ประเภท : ทั้งหมด
ล้างทั้งหมด
สนทนากับมีเดียกูรู สุทธิชัย หยุ่น ในหัวข้อ "ตระหนักรู้ก่อนสูญเสียการได้ยิน" โดย ศ.พญ. เสาวรส ภทรภักดิ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหู คอ จมูก ผู้อำนวยการศูนย์การได้ยิน และการทรงตัว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ตามการสนทนาไม่ทัน ต้องพยายามอย่างมากที่จะจับใจความโดยเฉพาะในวงสนทนที่มีหลายคนบางครั้งต้องใช้การอ่านปากเข้าช่วย
1 ใน 3 ประชากรอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดการบกพร่องทางการได้ยิน เช็คปัจจัยสี่ยง รู้เร็ว รักษาได้
การสูญเสียการได้ยินมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นอย่างยากลำบาก ทำให้ไม่อยากเข้าสังคม แยกตัวออกจากผู้อื่น รู้สึกโดดเดี่ยว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพราะไม่ได้ยินเสียงอีกด้วย
การสูญเสียการได้ยินมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านภาษา การพูดและทักษะทางสังคม ทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ เกิดความเครียดและรู้สึกโดดเดี่ยว ผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่า เด็กที่ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่มีอายุก่อน 6 เดือนมีพัฒนาการทางภาษา และการเรียนรู้ดีกว่าเด็กที่ได้รับการฟื้นฟูหลังอายุ 6 เดือนอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดและหากพบว่าเด็กมีปัจจัยเสี่ยงควรติดตามเฝ้าระวังจนกว่าเด็กจะมีอายุ 3 ขวบ แน่ใจได้ว่าเด็กมีการได้ยินที่ปกติ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ภาวะสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคสมองเสื่อมอย่างเป็นนัยสำคัญ จากสถิติ หนึ่งในหกของคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีภาวะสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นจึงมีคำแนะนำผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทุกปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น ช่วยให้การสื่อสาร และการเข้าสังคมของผู้ป่วยดีขึ้น รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม
องค์การอนามัยโลกเตือนว่าประชากรวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวประมาณ 1 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง
การสูญเสียการได้ยิน (hearing loss) คือการที่หูข้างเดียวหรือทั้งสองข้างได้ยินเสียงลดลงหรือไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลย โดยระดับของการได้ยินนั้นมีตั้งแต่หูตึงเพียงเล็กน้อยไปจนถึงหูหนวกซึ่งหมายความว่าเสียงที่จะได้ยินต้องดังกว่า 90 เดซิเบลขึ้นไป
ปัญหาความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการด้านสื่อสารของเด็ก