bih.button.backtotop.text

การตรวจคัดกรองตา

การตรวจคัดกรองตามีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจค้นโรคทางตาที่พบบ่อย ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียสายตาทั้งชั่วคราวและถาวร โดยโรคทางตาบางโรคอาจไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มต้น

ความถี่ในการตรวจคัดกรองตา

อายุ

ความถี่ในการตรวจ

ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง

ผู้ทีมีความเสี่ยง

แรกเกิด-24 เดือน

ตอนอายุ 6 เดือน

ตอนอายุ 6 เดือน หรือตามที่แพทย์แนะนำ

2-5 ปี

ตอนอายุ 3 ปี

ตอนอายุ 3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

6-18 ปี

ก่อน 6 ปี และหลังจากนั้นทุก 2 ปี

ทุกปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

18-39 ปี

อย่างน้อย 1 ครั้ง ระหว่างช่วงอายุนี้

ทุก 1-2 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

40-45 ปี

ทุก 2-4 ปี

ทุก 1-3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

55-64 ปี

ทุก 1-3 ปี

ทุก 1-2 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

65 ปีขึ้นไป

ทุก 1-2 ปี (แม้ไม่มีอาการใดๆ เลย)

ทุกปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ


*ผู้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ หรือโรคเลือด sickle cell
  • มีประวัติโรคทางตา เช่น จอประสาทตาลอก อุบัติเหตุเกี่ยวกับตาหรือสูญเสียการมองเห็นในตาข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  • มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคทางตา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม
  • เชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งอายุมากกว่า 20 ปี
  • ทำงานที่ใช้สายตามาก
  • ใช้ยาที่มีผลต่อตา
  • ใส่คอนแทคเลนส์

โดยทั่วไปผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองตาแม้จะไม่มีความเสี่ยงใดๆ ก็ตาม เนื่องจากโรคทางตาที่พบบ่อยหรือการเปลี่ยนแปลงของสายตามักจะเริ่มที่ช่วงอายุนี้ การตรวจคัดกรองจะช่วยในการตรวจค้นโรคทางตาที่พบบ่อย รวมถึงโรคบางอย่างที่พบไม่บ่อยแต่มีความร้ายแรงจนอาจทำให้สูญเสียตาได้ เช่น เนื้องอกในลูกตา ทั้งนี้ความผิดปกติของตาอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติทางร่างกายบางอย่างได้อีกด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน 
  • ตรวจตาทั่วไป
  • ตรวจระดับการมองเห็น เป็นการวัดระดับการมองเห็นด้วยการอ่านตัวเลขหรือตัวอักษร
  • ตรวจคัดกรองตาบอดสี
  • ตรวจวัดความดันตาและความหนาของกระจกตา เนื่องจากความดันตาที่ต่ำหรือสูงเกินไปอาจบ่งบอกโรคบางอย่าง เช่น ต้อหิน เป็นต้น
  • ตรวจความโค้งของกระจกตาด้วยเครื่อง Auto Keratometer เนื่องจากโรคตาบางชนิด เช่น โรคกระจกตาโปน (Keratoconus) อาจเกิดจากกระจกตามีความโค้งผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็นได้

โรคกระจกตาโปน
 
  • ตรวจสายตาสั้นยาวเอียงด้วยเครื่อง Autorefraction
  • ตรวจจอประสาทตาและขั้วประสาทตา เพื่อค้นหาโรคทางจอประสาทตารวมถึงขั้วประสาทตา เช่น ต้อหิน เบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือโรคจุดรับภาพจอประสาทตาเสื่อม ด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิตอล (fundus camera) อย่างละเอียด

โรคจอประสาทตาเสื่อม เบาหวานจอประสาทตา
 
  • ตรวจลักษณะและรูปร่างของส่วนด้านหน้าของลูกตา ได้แก่ กระจกตา ช่องหน้าลูกตา ม่านตา และมุมตา ด้วยเครื่อง Anterior segment OCT โดยใช้ลำแสงพิเศษในการตรวจ เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างอาจเป็นความเสี่ยงของโรคตา เช่น มุมตาแคบหรือปิด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินเฉียบพลันได้
มุมตาปิด เสี่ยงต่อต้อหินมุมปิด
 
  • ตรวจวัดความหนาของชั้นประสาทตาและตรวจความผิดปกติของเนื้อเยื่อแต่ละชั้นของจอประสาทตาด้วยเครื่อง Posterior segment OCT
  • ตรวจลานสายตา เพื่อตรวจว่ามองเห็นในมุมกว้างขนาดไหนมีความผิดปกติของการมองเห็นด้านข้างหรือไม่ เช่น ในต้อหินผู้ป่วยมักสูญเสียการมองเห็นด้านข้างหรือรอบนอกในระยะแรก ซึ่งจะไม่มีอาการแสดงใดๆ นอกจากนี้การตรวจลานสายตาอาจบอกถึงความผิดปกติในสมองที่มีผลกระทบต่อตาได้
แก้ไขล่าสุด: 15 ตุลาคม 2563

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.90 of 10, จากจำนวนคนโหวต 79 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง