bih.button.backtotop.text

การตรวจอัลตราซาวด์

        อัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ส่งผ่านจากหัวตรวจ (Transducer หรือ Probe) ไปในอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย แล้วสร้างเป็นภาพของอวัยวะนั้น ๆ

     การตรวจอัลตร้าซาวด์ สามารถทำได้ทุกระบบในร่างกาย ที่ใช้บ่อยคือในช่องท้อง นอกจากนั้นอวัยวะที่อยู่ตื้นๆ เช่น เต้านม, ต่อมไทรอยด์, ต่อมน้ำลาย, ถุงอัณฑะ, ระบบกล้ามเนื้อ, ข้อต่อ, เส้นเอ็น, เนื้อเยื่ออ่อน, หลอดเลือดที่อยู่ในช่องท้อง, หลอดเลือดแดงที่คอ ,หลอดเลือดดำ ,หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดที่อยู่ตื้น ๆ ใต้ผิวหนัง   ที่แขนและขา รวมทั้งการตรวจการตั้งครรภ์เพื่อดูอายุครรภ์และเด็กในครรภ์มารดาด้วย แต่อัลตร้าซาวด์จะเห็นได้ไม่ดีถ้ามีลมหรือก๊าซอยู่ในอวัยวะเหล่านั้น เช่นปอดหรือลำไส้ที่ปกติ ยกเว้นลำไส้ที่มีก้อนขนาดใหญ่หรือบวมมาก

ประโยชน์ในการทำ
  1. เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือด
  2. เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย
  3. เพื่อตรวจดูทารกในครรภ์ เช่น ดูอายุครรภ์, ตรวจหาตำแหน่ง, ตรวจดูความสมบูรณ์ เป็นต้น
  4. เพื่อติดตามดูความเปลี่ยนแปลง และผลหลังการรักษา
  5. เพื่อใช้ในกระบวนการทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น การดูด ตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิ  เป็นต้น   
 
ข้อดีในการตรวจอัลตร้าซาวด์
  1. ไม่ใช้รังสี จึงปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์
  2. การตรวจทำง่าย สะดวก รวดเร็ว การเตรียมตัวไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาการตรวจในเวลาสั้นๆ
  3. ตรวจได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายที่เป็นเนื้อเยื่อ
ข้อจำกัดสำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์
  1. ในกรณีที่อวัยวะที่ทำการตรวจมีก๊าซหรือลมอยู่ จะเห็นอวัยวะได้ไม่ดี เนื่องจากอากาศไม่สามารถสะท้อนคลื่นเสียง
  2. อัลตร้าซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจกระดูกได้ เนื่องจากกระดูกจะสะท้อนคลื่นเสียงกลับหมด
 
แก้ไขล่าสุด: 11 เมษายน 2566

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs